Thursday, May 28, 2020

บทที่ 1 บทนำ สถิติเบื้องต้น

ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญส าหรับการตัดสินใจ เช่น การวางแผนในชีวิตประวันที่ เกี่ยวข้องกับคนเพียงคนเดียว หรือเกี่ยวข้องกับคนเป็นจำนวนมาก ทำให้ มีการพัฒนาวิธีการจัดการ ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของผู้ใช้โดยเริ่มจากการ การวางแผนการเก็บ รวบรวมข้อมูล การอธิบายเกี่ยวกับข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวัดแนวโน้มเข้าสู่ ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล การหาค่าความน่าจะเป็น การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การพยากรณ์ เป็นต้น  สำหรับในบทนี้จะกล่าวถึงสถิติเบื้องต้นที่เกี่ยวกับ ความหมายของสถิติ วิธีการทางสถิติ คำศัพท์ที่ควรทราบ ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสถิติการแบ่งข้อมูล ระดับของข้อมูล การเก็บรวบรวม ข้อมูล เป็นต้น

ความหมายของสถิติ สถิติศาสตร์ (Statistics) หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยวิธีทางการทางสถิติแขนงหนึ่งที่ ประกอบไปด้วยระเบียบวิธีการ 4 ขั้นตอน คือ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) ซึ่งรวมถึงการด าเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ข้อมูล เช่น วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจจะโดยการสัมภาษณ์ การโทรศัพท์ การส่งไปรษณีย์ เป็นต้น (2) การน าเสนอข้อมูล (Presentation of data) เป็นวิธีการน าเสนอข้อมูลแบบต่างๆ เช่น การน าเสนอโดยใช้บทความ ตารางแจกแจงความถี่ การน าเสนอด้วยแผนภูมิแท่งหรือกราฟ เป็นต้น (3) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการวิเคราะห์หรือด าเนินการเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ขั้นต้น เช่น การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ขั้นสูง เช่น การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การหาสหสัมพันธ์ เป็นต้น (4) การตีความหมายของข้อมูล (Interpretation of data) เป็นการน าข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วมา ตีความหมายหรือการอธิบายความหมาย เพื่อเป็นการสรุปเกี่ยวกับลักษณะของตัวอย่างหรือประชากร


ิธีการทางสถิติ การแบ่งวิธีการทางสถิติตามวิธีการด าเนินการหรือการกระท าเกี่ยวกับข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) วิธีการทางสถิติที่เกี่ยวกับการอธิบาย การบรรยายหรือการวัดลักษณะต่าง ๆ ของ ตัวอย่างหรือประชากรเช่น 1.1 การจัดระเบียบข้อมูล เป็นการจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เช่น แผนภูมิ ตารางแจก แจงความถี่ เป็นต้น 1.2 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นการหาค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลในแต่ละ ชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยมหรือค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิค เป็นต้น 1.3 การวัดการกระจายของข้อมูล เป็นการวัดความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละค่า เช่น พิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวน สัมประสิทธิ์ความแปรผัน เป็นต้น 1.4 การวัดการแจกแจง เป็นการหารูปแบบหรือลักษณะของข้อมูล เช่น ความเบ้หรือ ความโด่งของข้อมูล การแจกแจงแบบต่างๆ 1.5 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้น ไป เช่น สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนแรงค์ เป็นต้น 2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) วิธีการทางสถิติที่เกี่ยวกับการใช้ลักษณะของตัวอย่างในการอ้างอิงถึงลักษณะประชากร โดยใช้ความน่าจะเป็นช่วยในการอ้างอิง สถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย การประมาณค่า การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงของตัวแปรสุ่ม การทดสอบสมมติฐาน และแบ่งสถิติเชิงอนุมานออกเป็น 2 ประเภท คือ 2.1 สถิติมีพารามิเตอร์ (Parametric statistics) เป็นวิธีการทางสถิติที่ที่เกี่ยวกับ พารามิเตอร์หรือลักษณะของประชากรโดยมีข้อตกลงเบื้องต้น 2 ประการคือประการแรกตัวแปร ที่ต้องการวัดจะต้องอยู่ในมาตราอันตรภาคชั้น (interval scale) หรือมาตราอัตราส่วน (rational scale) เช่น ปริมาณสินค้า ราคาสินค้า และประการที่สองข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะต้องมีการแจกแจงเป็นโค้ง


ปกติ สถิติมีพารามิเตอร์ เช่น การทดสอบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์และ การวิเคราะห์การถดถอย เป็นต้น 2.2 สถิติไร้พารามิเตอร์ (Nonparametric statistics) เป็นวิธีการทางสถิติที่ไม่มี ข้อจ ากัดเกี่ยวกับลักษณะของประชากรและตัวแปรที่ต้องการวัดจะอยู่ในมาตราไดก็ได้ และข้อมูล ที่เก็บรวบรวมจะมีการแจกแจงแบบใดก็ได้ (free distribution) สถิติไร้พารามิเตอร์ เช่น ไคสแควร์ การ ทดสอบลักษณะสุ่ม เป็นต้น ค าศัพท์ทางสถิติที่ควรทราบ 1. ประชากร (Population) กลุ่มของสิ่งที่เราสนใจทั้งหมด ณ เวลาหนึ่งๆ ซึ่งอาจจะเป็นคน สัตว์หรือสิ่งของ เช่น ผู้ ที่มาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบลแห่งหนึ่งใน ปี พ.ศ. 2553 จ านวน 5,000 คน เป็นต้น แบ่งประชากรออกเป็น2 ประเภท คือ 1.1 ประชากรจ ากัด (Finite population) หมายถึง กลุ่มประชากรที่สามารถ แจงนับหน่วยย่อยได้ทั้งหมด เช่น สมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงาน ร้านค้าที่จดทะเบียน เป็นต้น 1.2 ประชากรอนันต์ (Infinite population) หมายถึง กลุ่มประชากรที่ไม่สามารถแจง นับหน่วยย่อยได้ทั้งหมด เช่น ประชากรปลาในทะเล สัตว์ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น 2. ตัวอย่าง (Sample) สมาชิกบางส่วนของประชากรหรือเซตย่อยของประชากรที่ ถูกเลือกโดยวิธีการ ทางสถิติ เช่น ประชากร คือ ผู้ที่มาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบลแห่งหนึ่งใน ปี พ.ศ. 2553 จ านวน 5,000 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกเพียงบางส่วนที่ถูกเลือกมา เป็นตัวอย่างโดย วิธีการหยิบฉลากหรือโดยวิธีอื่นๆ เป็นต้น 3. แหล่งข้อมูล (Source of data)


ข้อมูลทางสถิติแบ่งตามแหล่งหรือที่มามี2 ประเภท คือ 3.1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) หมายถึง ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูล โดยตรงซึ่งมีความแม่นสูง ต้อง ใช้เวลา ในการรวบรวมนาน และ มีค่าใช้จ่ายที่สูง เช่น การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์โดยพนักงานโดยตรง การสังเกต เป็นต้น 3.2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) หมายถึง ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูล ที่ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้วเป็นการเก็บข้อมูลที่สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยความแม่นย าของ ข้อมูลขึ้นอยู่กับวิธีการในการเก็บรวบรวม ข้อมูล แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ส านักงานสถิติแห่งชาติหรือหอสมุด การเก็บข้อมูลจากพาณิชย์จังหวัด เป็นต้น 4. พารามิเตอร์ (Parameter) คือ ค่าคงที่ที่บอกถึงลักษณะประชากร เป็นค่าที่ได้มาจากการวัดทุกหน่วยของ ประชากร เช่น  แทน ค่าเฉลี่ยของประชากร  แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร P แทน สัดส่วนของประชากร 5. ค่าสถิติ (Statistics) ค่าที่ได้จากตัวอย่างหรือค่าที่ได้จากค านวณเกี่ยวกับตัวอย่าง มักจะใช้เป็นค่าอ้างอิง เกี่ยวกับประชากร เช่น X แทน ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง S แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่าง p แทน สัดส่วนของตัวอย่าง 6. ค่าสังเกต (Observation)


ค่าที่ได้จากการวัดของแต่ละหน่วยตัวอย่างที่สนใจเช่น ระดับความเห็น ระดับความพึง พอใจ ส่วนสูง คะแนนของลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น 7. ตัวแปร (Variable) ลักษณะของสิ่งที่สนใจท าการศึกษา เช่น ปริมาณสินค้า ส่วนสูง น้ าหนัก คะแนน เป็น ต้น ข้อมูลสถิติ ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงของสิ่งที่ต้องการจะศึกษา เช่น เพศ อายุ สถานภาพ ระดับ ความคิดเห็น เป็นต้น ข้อมูลอาจจะ เป็นตัวเลขที่ มีหน่วยในการวัดได้แก่ อายุ น้ าหนัก เป็นต้น และ ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้และไม่มีหน่วยในการวัด แต่มักจะใช้ ตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนข้อมูล เช่น สถานภาพ หมู่เลือด ศาสนา ระดับความเห็น คุณภาพของสินค้า แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท 1. ข้อมูลดิบ ข้อมูลดิบ (Raw data) คือ ข้อมูลที่ยังไม่ได้จัดระเบียบหรือยังไม่มีการจัดแบ่งประเภท และหมวดหมู่ เช่น ข้อมูลอาชีพ ชนิดสินค้าที่ลูกค้าต้องการ เป็นต้น 2. ข้อมูลหมวดหมู่(Group data) ข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่มีการแจกแจงความถี่ ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตาราง แผนภาพ หรือแผนภูมิ เช่น ตารางแจกแจงความถี่แบ่งตามหมวดอายุ อาชีพ หรือชนิดของสินค้า เป็นต้น การแบ่งข้อมูล 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)


ข้อมูลที่ใช้ตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนลักษณะหรือสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่สนใจ มักจะ เป็นข้อมูลส าหรับจ าแนกประเภท ไม่สามารถทราบค่าได้ว่ามีค่ามากหรือน้อย อาจจะเป็นข้อความหรือ ตัวเลขที่แทนข้อความ เช่น กลุ่มเลือด - กลุ่มเลือดเอ แทนด้วย A - กลุ่มเลือดบี แทนด้วย B - กลุ่มเลือดโอ แทนด้วย O - กลุ่มเลือดเอบี แทนด้วย AB เพศ - ชาย แทนด้วย 1 - หญิง แทนด้วย 0 ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ไม่สามารถจะน ามาเปรียบเทียบ ปริมาณความมากน้อยและด าเนินการ บวก ลบ คูณหรือหารได้ 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) ข้อมูลสามารถวัดค่าได้และสามารถบอกได้ว่าค่าที่ได้มีมากกว่าหรือน้อยกว่าเป็น จ านวนเท่าได สามารถน ามาเปรียบเทียบ บวก ลบ คูณหรือหารได้ เช่น ปริมาณน้ ามัน ราคายางพารา อายุ ส่วนสูง เป็นต้น ข้อมูลเชิงปริมาณแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ 2.1 ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete data) คือ ข้อมูลที่เป็นจ านวนเต็มหรือเป็น จ านวนนับ เช่น จ านวนคน จ านวนรถที่ผลิตในแต่ละปี ซึ่งมีค่าเป็น 0 ,1, 2, … 2.2 ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous data) คือ ข้อมูลมีค่าบนทุกๆ จุดในช่วงที่ ก าหนด การวัดเป็นการก าหนดตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการศึกษาภายใต้กฎเกณฑ์ที่แน่นอน เช่น น้ าหนัก ส่วนสูง ระยะทาง ระยะเวลา เป็นต้น ระดับของข้อมูล การเลือกวิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมส าหรับข้อมูลแต่ละชุด ต้องมีการแบ่งระดับของ ข้อมูลหรือมาตราวัดระดับข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ


1. มาตรานามบัญญัติ(Nominal scale) การก าหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสมบัติ ลักษณะหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อจ าแนกกลุ่มหรือพวกของข้อมูล เป็นระดับข้อมูลที่หยาบที่สุดและมีสมบัติที่ส าคัญ คือ ตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ที่ก าหนดให้ข้อมูลเพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลอยู่คนละกลุ่มกันหรือคนละพวกเท่านั้น และ ตัวเลขมิได้ใช้เป็นเครื่องแสดงว่าข้อมูลกลุ่มใดมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่ากัน หรือส าคัญกว่ากัน ไม่ สามารถน าตัวเลขาเรียงล าดับหรือค านวณได้ เช่น เพศ สถานภาพ กลุ่มเลือด มักจะแทนด้วยตัวแปร ดังนี้ เพศ - 0 แทน เพศชาย - 1 แทน เพศหญิง กลุ่มเลือด - 1 แทน กลุ่มเลือด A - 2 แทน กลุ่มเลือด B - 3 แทน กลุ่มเลือด AB - 4 แทน กลุ่มเลือด O โดยส่วนมากแล้วข้อมูลในกลุ่มนี้จะใช้กับสถิติไร้พารามิเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การ หาค่าความถี่ การทดสอบความเป็นอิสระ เป็นต้น 2. มาตราเรียงอันดับ (Ordinal scale) คือ การก าหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับเหตุการณ์หรือลักษณะที่สามารถจะน ามา เรียงล าดับได้ มีคุณสมบัติที่ส าคัญ คือ ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้สามารถบอกทิศทางของความ แตกต่างหรือล าดับของความส าคัญได้ว่าตัวเลขที่แทนมีค่ามากหรือน้อย สูงหรือต่ า เก่งหรืออ่อน แต่ ไม่สามารถบอกปริมาณของความแตกต่างได้ว่าแต่ละล าดับแตกต่างกันเป็นจ านวนเท่าใด ระดับความพึงพอใจ แบ่งได้ 5 ระดับ - ไม่พอใจ แทนด้วย 1 - พอใจน้อย แทนด้วย 2 - พอใจปานกลาง แทนด้วย 3


- พอใจมาก แทนด้วย 4 - พอใจมากที่สุด แทนด้วย 5 ระดับการศึกษา - ระดับประถมหรือต่ ากว่า แทนด้วย 1 - ระดับมัธยม แทนด้วย 2 - ระดับปริญญาตรี แทนด้วย 3 - ระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า แทนด้วย 4 3. มาตราอันตรภาคชั้น (Interval scale) การก าหนดตัวเลขให้กับเหตุการณ์หรือลักษณะต่างๆ สามารถบอกได้ว่าปริมาณของ ความแตกต่างห่างกันเป็นระยะเท่าใดและสามารถน ามาบวก ลบ คูณ หาร กันได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน และเป็นมาตราที่มีศูนย์เทียมคือมีเลข 0 แต่มีค่าไม่เท่ากับศูนย์ เช่น ระดับ อุณหภูมิ ถ้าระดับอุณหภูมิเท่ากับศูนย์องศาไม่ได้หมายความว่าไม่มีความร้อน เพราะยังมีความร้อน แฝงเหลืออยู่ และไม่สามารถบอกได้ว่าความร้อน 50 องศาเป็นสองเท่าของความร้อน 25 องศา คะแนน สอบ ถ้าคะแนนสอบได้ 0 คะแนน ไม่ได้หมายความว่านักศึกษาไม่มีความรู้เลยและในท านองเดียวกัน ไม่สามารถบอกได้ว่ารับความรู้ของคนที่ได้คะแนน 40 คะแนนจะมีระดับความรู้มากกว่าคนที่ได้ คะแนน 20 คะแนนเป็นสองเท่า เป็นต้น 4. มาตราอัตราส่วน (Rational scale) การก าหนดตัวเลขให้กับเหตุการณ์หรือลักษณะที่สามารถจะน ามาเรียงล าดับได้ สามารถบอกได้ว่าแต่ละล าดับห่างกันเป็นระยะเท่าใด และบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกันและเป็น ระดับที่มีศูนย์จริง ตัวเลขในระดับนี้สามารถน ามา บวก ลบ คูณ หาร และอัตราส่วนได้ เช่น น้ าหนัก ระยะทาง ส่วนสูง พื้นที่ เป็นต้น การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยแจงนับของตัวอย่างหรือประชากรที่ศึกษา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การส ามะโน (census) เป็นการการเก็บข้อมูลจากทุกหน่วยของประชากรที่สนใจศึกษา


เช่น ถ้าประชากรที่ต้องการศึกษามี 500 หน่วย ก็ต้องท าการศึกษาประชากรทุกหน่วย และ การส ารวจตัวอย่าง (Sample Survey) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพียงบางส่วนของหน่วยประชากร เช่น เลือกส ารวจตัวอย่างเพียง 50 หน่วย จากประชากรทั้งหมด 500 หน่วย เป็นต้น และ มีวิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูลที่ส าคัญดังนี้ 1. การสัมภาษณ์ (Interview) การที่ผู้วิจัยส่งพนักงานสัมภาษณ์ไปการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ถ้า ผู้ตอบไม่เข้าใจค าถามพนักงานสัมภาษณ์สามารถอธิบายรายละเอียดให้กับผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ทันที ถ้า เป็นโครงการใหญ่เพื่อให้พนักงานสัมภาษณ์มีความเข้าใจตรงกันก็ควรจัดให้มีการอบรมพนักงานก่อน ออกสัมภาษณ์จริง ข้อดีของการสัมภาษณ์คือท าให้ได้ข้อมูลที่รวดเร็วแต่มีข้อเสียคือท าให้เสียค่าใช้จ่าย สูง 2. การส่งทางไปรษณีย์ การที่ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปให้กลุ่มตัวอย่างแล้วให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็น ผู้ตอบแบบสอบถามส่งแบบสอบถามคืนมาทางไปรษณีย์ แต่โดยส่วนมากแล้วผู้ตอบแบบสอบถามจะ ไม่ส่งแบบสอบถามคืนมาให้ ข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายแต่มีข้อเสียคือได้ข้อมูลที่ช้าหรืออาจ 3. การทอดแบบ การที่ผู้วิจัยน าแบบสอบถามไปให้กลุ่มตัวอย่างแล้วนัดวันจะมารับแบบสอบถามคืน ส่วนมากแล้วผู้ตอบแบบสอบถามจะให้ความร่วมมือข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย แต่มีข้อเสีย คืออาจจะ เป็นข้อมูลที่ตัวอย่างไม่ได้ตอบเอง 4. โทรศัพท์ การที่ผู้วิจัยหรือพนักงานโทรศัพท์โทรไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างโดยตรง มีข้อดี คือ ประหยัดและได้ค าตอบเร็วแต่มีข้อเสียคือสอบถามได้เฉพาะผู้ที่มีโทรศัพท์เท่านั้น


5. การชั่ง ตวง วัด หรือนับ การที่ผู้วิจัยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ช่วยท าให้ได้ตัวเลขที่แน่นอนและ มีความแม่นย าสูง เช่น การชั่งน้ าหนัก การวัดส่วนสูง การวัดระยะทาง การนับจ านวนสินค้า เป็นต้น การน าเสนอข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลจะน าเสนอข้อมูลได้หลายวิธี เช่น เสนอในรูป ของข้อความ เสนอในรูปแผนภูมิหรือแผนภาพ หรือเสนอในรูปกราฟ โดยความเหมาะสมของ การน าเสนอจะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลที่จะน าเสนอเป็นส าคัญ 1. การน าเสนอในรูปข้อความ คือ การใช้ข้อความหรือตัวเลขประกอบกัน เช่น จากการส ารวจพบว่า ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 65.7 ทราบหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการ และ อีกร้อยละ 34.3 ไม่เคยทราบหรือไม่เคยได้ยิน ส าหรับสื่อที่ท าให้ทราบหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการปฏิรูป ระบบราชการมากที่สุด คือโทรทัศน์ ซึ่งมีผู้ที่รับทราบจากสื่อนี้ประมาณร้อยละ 87.9 รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ มีผู้ที่ทราบจากสื่อนี้ประมาณร้อยละ 32.9 วิทยุ ร้อยละ 24.2 เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 16.6 ญาติหรือเพื่อน ร้อยละ 9.7 เอกสารหรือแผ่นปลิว ร้อยละ 4.9 ส าหรับผู้ที่รับทราบจากอินเตอร์เน็ต มี เพียงร้อยละ 1.7 และอีกร้อยละ 0.8 รับทราบจากสื่ออื่น ๆ


 2. การน าเสนอในรูปตาราง การน าเสนอโดยการจัดข้อมูลเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่เพื่อให้กะทัดรัดและสะดวก ต่อการเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน จึงมีการระบุจ านวนหรือความถี่ของข้อมูลในแต่ละหมวดหมู่ ว่ามีจ านวนเท่าใด เช่น สถานภาพของแรงาน แบ่งออกเป็น ก าลังแรงงานปัจจุบันซึ่งก็คือผู้ที่มีงานท าอยู่ แล้ว ก าลังแรงงานที่รอฤดูกาลซึ่งส่วนมากเป็นผู้ที่ท าการเกษตร และผู้ไม่อยู่ในก าลังแรงงานซึ่งก็คือผู้ที่ ก าลังเรียนหนังสือ วัยชรา หรือแม่บ้าน เป็นต้น ส่วนประกอบที่ส าคัญของตารางจะประกอบด้วย หมายเลขตาราง ชื่อตาราง หัวขั้ว หัวเรื่อง ตัวเรื่องและแหล่งที่มาของข้อมูล ดังตารางที่ 1.1 ตารางที่ 1.1จ านวนประชากรจ าแนกตามสถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2544 สถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2544 รอบที่ 1 (ม.ค. - มี.ค.) 1. ก าลังแรงงานปัจจุบัน 32,027.1 1.1 ผู้มีงานท า 30,444.7 1.1.1 ท างาน 28,630.6 1.1.2 ไม่ได้ท างานแต่มีงานประจ า 1,814.1 1.2 ผู้ไม่มีงานท า 1,582.4 1.2.1 ก าลังหางานท า 443.5 1.2.2 ไม่หางานท าแต่พร้อมที่จะท างาน 1,139.0 2. ก าลังแรงงานที่รอฤดูกาล 1,184.8 3. ผู้ไม่อยู่ในก าลังแรงงาน ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 13,614.4 4. ผู้ที่มีอายุต่ ากว่า 15 ปี 15,914.8 ที่มา : รายงานผลการส ารวจภาวะ การท างานของประชากร พ.ศ. 2544 ส านักงานสถิติแห่งชาติ


3. การน าเสนอในรูปแผนแผนภูมิ การน าเสนอด้วยแผนภูมิที่นิยมกันทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ แผนภูมิแท่ง (bar chart) มี รูปร่างเป็นแท่ง แผนภูมิวงกลม (pie chart) มีรูปร่างเป็นรูปวงกลม แผนภูมิประกอบด้วย เลขที่ของ แผนภูมิ ชื่อแผนภูมิ และแหล่งที่มาของข้อมูล 3.1 แผนภูมิแท่ง (Bar chart or Bar graph) แผนภูมิแท่งประกอบด้วยแท่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางบนแกนตามแนวตั้งหรือแนวนอน โดยกราฟแต่ละแท่งจะมีความกว้างเท่ากัน และความสูงของแท่งกราฟจะแทนขนาดของข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบและแผนภูมิแท่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยว (simple bar chart) เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลเพียงลักษณะเดียว แผนภูมิ แท่งเชิงซ้อน (multiple bar charts) เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ลักษณะขึ้นไป แผนภูมิแท่งหลาย ส่วนประกอบ (component bar charts) เป็นแผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยวหรือเชิงซ้อน ที่แสดงรายละเอียดของข้อมูลมากกว่าเดิม และแผนภูมิแท่งซ้อนกัน (overlapping bar chart) เป็นแผนภูมิที่จัดเรียงแท่งซ้อนกันเพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบและประหยัดพื้นที่ ตัวอย่างเช่น จากตาราง 1.1 สร้างแผนภูมิแท่งได้ดังภาพที่ 1.1 ภาพที่1.1 จ านวนประชากร จ าแนกตามสถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2544 3.2 แผนภูมิวงกลม (Pie diagram or Circle graph)แผนภูมิวงกลมหรือแผนภูมิกง ประกอบด้วยวงกลมที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ ซึ่งแสดงการเปรียบเทียบอัตราเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ โดยให้หนึ่งเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 3.6 องศา ตัวอย่างเช่น จากตาราง 1.1 สร้างแผนภูมิวงกลม ได้ดัง ภาพที่


 สถานภาพแรงงาน จ านวน ร้อยละ องศา 1. ก าลังแรงงานปัจจุบัน 32,027.1 51.05 183.77 2. ก าลังแรงงานที่รอฤดูกาล 1,184.8 1.89 6.80 3. ผู้ไม่อยู่ในก าลังแรงงาน ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 13,614.4 21.70 78.12 4. ผู้ที่มีอายุต่ ากว่า 15 ปี 15,914.8 25.37 91.32 ภาพที่1.2จ านวนประชากร จ าแนกตามสถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2544 1.2 การน าเสนอข้อมูลในรูปกราฟเส้น (Trend chart or Line graph) การน าเสนอข้อมูลในรูปกราฟเส้นเป็นการน าเสนอเพื่อให้เห็นแนวโน้ม ความสัมพันธ์ของข้อมูลและลักษณะเด่นของข้อมูลได้อย่างชัดเจนโดยส่วนมากมักจะใช้กับข้อมูลที่ เป็นช่วงของเวลา กราฟแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ กราฟเส้นเชิงเดี่ยว (simple line graph) กราฟเส้น เชิงซ้อน (multiple line graphs) และกราฟเส้นหลายส่วนประกอบ (composite line graph)


ภาพ 1.3 จ านวนประชากร จ าแนกตามสถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2544



Saturday, May 23, 2020

บทที่ 2 สถิติขั้นพื้นฐาน

บทที่ 2 สถิติขั้นพื้นฐาน

การบรรยายหรือการอธิบายลักษณะต่างๆ ของข้อมูลเป็นขั้นตอนขั้นต้น  ที่จะทำให้เกิด ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่สำคัญ เช่น จำนวนข้อมูล ความถี่ ตำแหน่งข้อมูล สัดส่วน ร้อยละ ค่าวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม)การกระจายของข้อมูล (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ) การแจกแจง ความถี่ของข้อมูล การสำรวจลักษณะ ของข้อมูล การสร้างตารางจร เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลแจกแจงความถี่ การบรรยายข้อมูลขั้นพื้นฐานสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อมูลมาตรานามบัญญัติและ มาตราเรียงอันดับที่นิยมใช้กันมาก คือ การนับจำนวนข้อมูลและร้อยละของข้อมูลในแต่ละกลุ่มหรือ ระดับ เป็นต้น และแบ่งการแจกแจงความถี่ของข้อมูลได้ 2 แบบ คือ 1. การแจกแจงความถี่ทางเดียว การแจกแจงของข้อมูลตามลักษณะที่สนใจเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น เช่น การแจกแจง ข้อมูลจำแนกตามเพศ การแจกแจงข้อมูลจำแนกตามสถานภาพ เป็นต้น เช่น

ตารางที่ 2.1 จ านวนและร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินจ าแนกตามเพศ
เพศ จ านวน ร้อยละ ชาย 142 39.4 หญิง 218 60.6 รวม 360 100.0


2. การแจกแจงความถี่หลายทาง การแจกแจงของข้อมูลตามลักษณะที่สนใจมากกว่าหนึ่งปัจจัย เช่น การแจกแจงข้อมูล จำแนกตามเพศและระดับการศึกษา การแจกแจงข้อมูลจำแนกตามระดับการศึกษาและระดับรายได้ เป็นต้น เช่น ตารางที่ 2.2 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินจำแนกตามเพศ และระดับความเห็นต่อ การวางแผนฝึกอบรมแก่สมาชิกผู้ใช้น้ า เพศ การวางแผนฝึกอบรมแก่สมาชิกผู้ใช้น้ า รวม ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย อย่างยิ่ง ชาย 2 29 40 7 78 100.0% 48.3% 74.1% 70.0% 61.9% หญิง 0 31 14 3 48 0.0% 51.7% 25.9% 30.0% 38.1% รวม 2 60 54 10 126 100.0% 100.0% 100.0% 100.0% 100.0%

การวิเคราะห์การแจกแจงความถี่ทางเดียว เรียกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูล รปม.xls และน าข้อมูลเข้าโดยเริ่มจาก Data  Import data  from Excel, Access …. มีขั้นตอนดังภาพ ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลส าหรับน าข้อมูลเข้าดังภาพ กดปุ่ม จะได้แหล่งของแฟ้มข้อมูลดังภาพ


ขั้นที่ 3 เลือกการค านวณร้อยละจาก Compute Percentages ในแนว - แนวแถว (Row percentages) - แนวสดมถ์ (Column percentages) - รวม (Percentages of total) - ไม่ค านวณร้อยละ (No percentages) ขั้นที่ 4กดปุ่ม จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ > .Table <-xtabs data="รปม)" income="" sex=""> .Table income sex 10,001 -15,000 บาท 15,001 บาท ขึ้นไป 5,001 -10,000 บาท ไม่เกิน 5,000 บาท ชาย 72 26 81 33 หญิง 38 18 59 25 > rowPercents(.Table) # Row Percentages income sex 10,001 -15,000 บาท 15,001 บาท ขึ้นไป 5,001 -10,000 บาท ไม่เกิน 5,000 บาท Total Count ชาย 34.0 12.3 38.2 15.6 100.1 212 หญิง 27.1 12.9 42.1 17.9 100.0 140 จากผลลัพธ์สรุปเป็นตารางได้ดังน


ตารางที่ 2.4จ านวนและร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินจ าแนกตามเพศและระดับรายได้ การวิเคราะห์แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การน าเสนอข้อมูลหรือการสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ เช่น ระดับความพึงพอใจหรือระดับ ความเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจจ าเป็นต้องทราบภาพรวมของ ระดับความพึงพอใจหรือระดับ ความคิดเห็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง และเรียกภาพรวม นี้ว่าค่ากลาง ฉะนั้นการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง คือ การหาค่ากลางเพื่อเป็นค่าแทนข้อมูลทั้งหมด เช่น ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม เป็นต้น โดยมี สถิติที่ส าคัญ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือมัชฌิมเลขคณิต คือ ผลรวมของค่าสังเกตหารด้วยจ านวนค่าสังเกต ทั้งหมด การหาค่าเฉลี่ยแบ่งออกเป็นสองกรณี คือ 1. การหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ยของประชากร (Population mean) N X N i 1  i  μ  เมื่อ N คือ จ านวนประชากร Xi คือ ค่าสังเกตค่าที่ i


2. การหาค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง (Sample mean) n X X n i 1  i   เมื่อ n คือ จ านวนตัวอย่าง Xi คือ ค่าสังเกตค่าที่ i ขั้นตอนการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ขั้นที่ 1 เลือกรายการและค าสั่งโดยเริ่มจาก Statistics  Summaries Numerical summaries … มี ขั้นตอนดังภาพ ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการหาค่าเฉลี่ย (ต้องเป็นตัวแปรเชิงปริมาณเท่านั้น เช่น ระดับความเห็น เป็น ต้น


ขั้นที่ 3กดปุ่ม จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ > numSummary(รปม[,c("A1", "A2", "A3", "A4")], statistics=c("mean"), quantiles=c(0,.25,.5,.75,1)) mean n A1 4.215909 352 A2 4.338068 352 A3 4.309659 352 A4 4.534091 352 ตารางที่ 2.6 ค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ (n=352) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอน ค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ 1. มีระยะเวลาการให้บริการที่เหมาะสม 4.22 มาก 2. การให้บริการเป็นระบบและขั้นตอนที่ชัดเจน 4.33 มาก 3. มีการพัฒนางานบริการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ 4.31 มาก 4. มีการให้บริการเป็นไปตามล าดับ ก่อน-หลัง อย่างยุติธรรม 4.53 มากที่สุด จากขั้นตอนที่ 2ถ้าเลือก Summarize by groups … ท าให้ได้ภาพ

Saturday, October 28, 2017

รางวัลโนเบลฟิสิกส์ 2017 กับสนามความโน้มถ่วง

ได้ยินประกาศข่าวว่านักฟิสิกส์สามคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 3 คนที่จริงควรจะเป็น 4 คน แต่คนหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านั้นแล้ว ตามกติกาจะไม่ให้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ที่จริงก็ไม่เป็นธรรมกับเขาเหมือนกันถ้าหากมีผลงานเด่นมาก ข้อนี้ไม่ค่อยเห็นด้วย

จับใจความได้ว่าผู้ที่ได้รับผลงานได้ช่วยกันสร้างผลงานในการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของมวลสารขนาดใหญ่ในจักรวาล ที่ไอน์สไตย์ได้ทำนายไว้ตามทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป ที่ทำนายการเกิดคลื่นความโน้มถ่วงเอาไว้  ความพยายามในการหาเทคนิคที่ทำให้วัดหาคลื่นความโน้มถ่วงที่มีขนาดอ่อนมากได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เท่ากับเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีของไอน์สไตย์ว่าถูกต้อง

Monday, March 13, 2017

ความเชื่อและศรัธา

เราจะเชื่อใครได้เพราะศรัธาในตัวเขา เห็นตัวอย่างที่เขาทำและปฏิบัติแล้วบางครั้งทำให้เชื่อสนิทใจได้เหมือนกัน

Thursday, March 2, 2017

เริ่มฝึกเขียนภาษาอังกฤษ ง่ายๆ



เมื่อจะเขียนถึงใครง่ายๆ  ที่จะบอกใครว่าไปไหนคิดถึงอะไร
to whom it may concern...
Every time I go to my office room
I think of my conlegue
Everytime I look at science center building I could befun and boring at the same time.
Every time I went to MU I think of you.
Every time I have a new friend . I tell somebody.
Every time I went to Sonkla . I think of U.
Every time I past final exam . I think of U.
Every time I Sonkla Seashore  I think of U
Every time the song "
ขอให้เหมือนเดิม"
comes on I think of U.
Every time a song goes by  I think of U.

ตุ๊กแก จับจิ้งจกกิน


ความฟิตของร่างกายเป็นอย่างไร



ในความหมายทั่วไปที่สุดความฟิต (fittness)  เป็นความสามารถของร่างกายที่มีอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม และความกดดันที่มีต่อสภาพจิต และร่างกายทางกายภาพ
ตามความเข้าใจในปัจจุบัน ในความหมายที่มีประโยชน์กว่าคือ ความสามารถทางร่างกายภาพที่่สามารถวัดทดสอบได้ ถึงความแข็งแรง ความเร็ว ความคงทน

สุขภาพกับความฟิตไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกัน นักกีฬาที่เก่งก็อาจเจ็บป่วยได้ หากได้รับเชื้อโรค ในทางที่กลับกันคนที่ตรวจแล้วพบว่าไม่เจ็บไข้ได้ป่วยอะไร สภาพร่างกายอาจไม่ฟิต แต่ก็ไม่มีเชื้อโรคอะไร

เมื่อก่อนถ้าอยากดูว่าร่างกายใครฟิตหรือไม่ฟิตก็อาจดูจากอิริยบทจากการทำงาน การเดินเหิน กระฉับกระเฉงหนือไม่ ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวบอกความสามารถของร่างกายได้ระดับหนึ่ง  ในสังคมปัจจุบัน อิริยบทการเดิน การทำงาน ยกของมีน้อยลงทำให้มีการวัดจากการออกกำลังกายที่มีการวางแผน ไม่ได้มาจากการทำงาน เหมือนกับชาวสวน ชาวไร่ ที่ทำนาทำไร่ กรรมกร

องค์ประกอบพื้นฐานของความฟิตสามารถจะดูได้จากความสามารถในการทำงานโดยทั่วไป ตามปกติร่างกายมีความสามารถในการทำงานโดยทั่วไป ตามปกติร่างกายสามารถหาพลังงาน และออกซิเจนที่ร่างกายต้องการในการดำเนินกิจกรรมทางกายภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของหัวใจ และระบบการหายใจที่เรียกว่าความฟิต CR  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัดส่วนของกล้ามเนื้อในร่างกายที่ขยายออกไป เช่นการเดินเร็ว การวิ่ง การจ๊อกกิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน  ซึ่งขีดจำกัดของความคงทน CR หาได้จากการหายใจ และการเต้นของหัวใจ

การใช้น้ำมันดูดสารพิษ




น้ำมันงามีไขมันประมาณ 50-60 กรัมต่อ 100 กรัม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวอยู่มาก ช่วยลดระดับคอเลสเตอร์รอลล์ในเลือดมีวิตตามินอีสูง เป็นสารต้านออกซิเดชั่น  

     นอกจากนี้ยังใช้น้ำมันงาช่วยดูดสารพิษได้ ที่เรียกว่า Oil pulling  โดยการอมน้ำมัน ซึ่งปกติน้ำ กับน้ำมันจะแยกกันอยู่ เมื่ออมน้ำมันพวกน้ำมันจะดึงดูดกันและกันมาอยู่รวมกัน เนื้อเยื้อที่เป็นน้ำมันหรือไขมันของแบคทีเรียจะถูกน้ำมันดูดออกจากที่ซ่อน และไปติดแน่นในส่วนผสมของน้ำมัน จึงเป็นการฆ่าเชื้อโรคได้อย่างหนึ่ง

    การใช้เทคนิคนี้ก็โดยการอมน้ำมันงาราว 1 ช้อนโต๊ะ อมแล้วกลั้วไปมาให้ทั่วปาก ราว 15-20 นาที น้ำมันงาที่ใช้ต้องเป็นน้ำมันงาสกัดเย็นเท่านั้น (cold press)  ข้อดีในการใช้เทคนิค oil pulling คือหินปูนจะค่อยๆ หายไป ฝันเหงือกแน่นขึ้น ลดรอยคล้ำใต้ตา อาการไมเกรน เจ็บคอยหายไป ฝัน ขาวขึ้น รากผมแน่นแข็งแรงขึ้น

เหตุที่คนญีปุ่นไม่ทำลายป่า

เหตุทื่คนญี่ปุ่นไม่ทำลายป่า

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นมีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยแต่มีผลเมืองมากกว่าประเทศไทยเกือบเท่าตัว แต่ปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่ามากกว่าคือมีป่าไม้ 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ (สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีป่าไม้อยู่ในอัตรานี้) ประเทศที่มีป่าไม้ขนาดนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากมากนัก ถีงมีก็ไม่ได้รุนแรงที่จะก่อให้เกิดอันตรายมากนัก เมื่อคิดเทียบกับประเทศไทยขณะนี้เรามีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ 14 เปอร์เซ็นต์ จึงไม่น่าแปลกที่จะมีน้ำท่วมทุกปีและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และเกิดความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สิน ผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก 

สำหรับประเทศญี่ปุ่นถ้าย้อนไปสมัยที่โชกุลปกครองญ่ี่ปุ่นประมาณร้อยปีมาแล้ว ที่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดน้ำท่วมญี่ปุ่นทำความเสียหายแก่ชีวิตทรัพย์สินจำนวนมากเช่นกัน ก็คงจะมีน้ำป่าไหลหลากเช่นเดียวกัน แต่เมื่อน้ำลดโชกุลก็ถามถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมรุนแรงก็ได้รับคำตอบว่ามีการตัดไม้ทำลายป่ามาก โชกุลก็เลยออกคำสั่งห้ามตัดไม้ทำลายป่า ใครที่ตัดต้นไม้จะได้รับโทษรุนแรง และให้ทหารเข้าไปดูแลป้องกันไม่ให้ใครไปตัดต้นไม้ ซึ่งก็เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อฝนตกก็ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายเหมือนเมื่อก่อน ประกอบกับประเทศญี่ปุ่นมีศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่คนญี่ปุ่นนับถืออยู่ดั้งเดิม ที่ให้ความเคารพต่อธรรมชาติ ไม่ว่า หิน ดิน ทราย ต้นไม้ คิดให้เหมือนกับผู้มีพระคุณมีชีวิตสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงห์สถิตย์ แม้ว่าความเชื่อเหล่านี้จะลดน้อยลงไป แต่ก็ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ต้นไม้และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  ประเทศญี่ปุ่นจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่า เพราะประชาชนช่วยกันดูแล 

หากประเทศไทยจะเลียนแบบที่จะช่วยการเสริมสร้างป่าไม้ให้มากขึ้นประเทศญ่ี่ปุ่น เช่นใช้ทหารมาช่วยในการดูแลรักษาป่าไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่า เอาจริงเอาจังเอาผิดกับผู้บุกรุกทำลายป่า และ ถือว่าต้นไม้เป็นผู้มีพระคุณไม่ควรทำลาย แต่ต้องเสริมสร้างให้เพิ่มมากขึ้น ทำอย่างไรให้แข่งกับปลูกป่ามากกว่าแข่งกันทำลาย แล้วยังจะได้ช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

Wednesday, May 15, 2013

เหตุที่คนญี่ปุ่นไม่ทำลายป่าไม้

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นมีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยแต่มีผลเมืองมากกว่าประเทศไทยเกือบเท่าตัว แต่ปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่ามากกว่าคือมีป่าไม้ 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ (สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีป่าไม้อยู่ในอัตรานี้) ประเทศที่มีป่าไม้ขนาดนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากมากนัก ถีงมีก็ไม่ได้รุนแรงที่จะก่อให้เกิดอันตรายมากนัก เมื่อคิดเทียบกับประเทศไทยขณะนี้เรามีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ 14 เปอร์เซ็นต์ จึงไม่น่าแปลกที่จะมีน้ำท่วมทุกปีและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และเกิดความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สิน ผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก 

สำหรับประเทศญี่ปุ่นถ้าย้อนไปสมัยที่โชกุลปกครองญ่ี่ปุ่นประมาณร้อยปีมาแล้ว ที่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดน้ำท่วมญี่ปุ่นทำความเสียหายแก่ชีวิตทรัพย์สินจำนวนมากเช่นกัน ก็คงจะมีน้ำป่าไหลหลากเช่นเดียวกัน แต่เมื่อน้ำลดโชกุลก็ถามถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมรุนแรงก็ได้รับคำตอบว่ามีการตัดไม้ทำลายป่ามาก โชกุลก็เลยออกคำสั่งห้ามตัดไม้ทำลายป่า ใครที่ตัดต้นไม้จะได้รับโทษรุนแรง และให้ทหารเข้าไปดูแลป้องกันไม่ให้ใครไปตัดต้นไม้ ซึ่งก็เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อฝนตกก็ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายเหมือนเมื่อก่อน ประกอบกับประเทศญี่ปุ่นมีศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่คนญี่ปุ่นนับถืออยู่ดั้งเดิม ที่ให้ความเคารพต่อธรรมชาติ ไม่ว่า หิน ดิน ทราย ต้นไม้ คิดให้เหมือนกับผู้มีพระคุณมีชีวิตสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงห์สถิตย์ แม้ว่าความเชื่อเหล่านี้จะลดน้อยลงไป แต่ก็ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ต้นไม้และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  ประเทศญี่ปุ่นจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่า เพราะประชาชนช่วยกันดูแล 

หากประเทศไทยจะเลียนแบบที่จะช่วยการเสริมสร้างป่าไม้ให้มากขึ้นประเทศญ่ี่ปุ่น เช่นใช้ทหารมาช่วยในการดูแลรักษาป่าไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่า เอาจริงเอาจังเอาผิดกับผู้บุกรุกทำลายป่า และ ถือว่าต้นไม้เป็นผู้มีพระคุณไม่ควรทำลาย แต่ต้องเสริมสร้างให้เพิ่มมากขึ้น ทำอย่างไรให้แข่งกับปลูกป่ามากกว่าแข่งกันทำลาย แล้วยังจะได้ช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

Saturday, January 21, 2012

โรงพยาบาลเอกชน

ข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างโรงพยาบาลเอกชนกับ โรงพยาบาลของรัฐ ที่โรงพยาบาลของรัฐคนที่มาใช้บริการจำนวนมาก และต้องรอนานกว่าจะถึงคิวตัวเอง บางคนมีอาการไม่มาก แต่รอไปรอมาอาการจะกำเริบมากขึ้นไปอีก

วันนี้ได้มีโอกาสไปโรงพยาบาลเอกชนที่มีบริการที่ดีกว่า มีคนมาใช้บริการไม่พลุกพล่านมากนัก ห้องน้ำสะอาด และมีอิเตอร์เน็ตให้ใช้ระหว่างรอ และแน่นอนว่า ค่าบริการก็ต้องแพงกว่า ตามการให้บริการที่ดี

Tuesday, November 23, 2010

วิทยาศษสตร์

เหตุเกิดกรณีเหยียบกันตายในเขมร


ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ที่เบียดเสียดกัน ที่ล้มทับกันจนหายใจไม่ออก นอกจากขาดหายใจแล้วเพราะแรงกดทับลงมาจนร่างกายอึดอัดไปหมด ซึ่งถ้าคงอยู่สภาพนั้นต่อไปก็ถึงตายได้ การเกิดเหตุการณ์ในเขมรครั้งนี้ เป็นบทเรียนให้เราได้ลำลึกกันเสมอว่า หากสถานที่ที่เราไปมีฝูงชนหนาแน่น และไม่มีทางอื่นไป ก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่ควรเข้าไป ยิ่งเป็นเด็กและคนแก่ก็ยิ่งไม่ควรเข้าไป

Thursday, September 23, 2010

แผนที่ทางขึ้นยอดเขาหลวง


หัวเหว บริเวณหัวเหว ใกล้ ๆ กับฝายกั้นน้ำ น้ำตกวังไม้ปักมีจุดรับซื้อผลไม้ ซึ่งชาวคีรีวงขึ้นไปเก็บผลผลิตจากสวนลงมาขายในช่วงสาย ๆ


สวนสมรม สวนผลไม้ที่มีไม้ผลปลูกรวมกันหลายชนิดโดยปนไปกับป่าธรรมชาติเชิงเขา ซึ่งจะได้เห็นการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าอย่างพึ่งพาและอนุรักษ์

น้ำตกวังอ้ายยางบน บริเวณนี้มีพืชพรรณไม้ป่าแปลก ๆ เช่น กล้วยไม้ดิน ชื่อสังหิน หรือลิ้นมังกรส้ม ขึ้นตามโขดหินริมลำธาร รากของมันอาศัยเพียงแร่ธาตุที่ย่อยสลายจากใบไม้ผุ โดยความช่วยเหลือของรา

กระท่อมสุดท้ายสวนใสใน เป็นจุดสิ้นสุดเขตสวนและเป็นที่พักคืนแรกของผู้เดินทางขึ้นยอดเขาหลวง โดยรอบเป็นป่าดิบชื้นเชิงเขาอย่างแท้จริง

สันลุงพร้าม-ดงทาก ป่าดงดิบที่ยังคงความสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณและสัตว์ป่าจะมีทากดูดเลือดชุกชุมบริเวณนี้จึงเป็นแหล่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ชื่นชอบศึกษาป่าดงดิบ

ลานไทร เป็นบริเวณทางน้ำผ่าน ในฤดูฝนมักมีน้ำป่าหลากท่วม พรรณไม้ที่มีขึ้นอยู่มารกคือมหาสดำ จัดได้ว่ายังเป็นดินแดนหลงสำรวจเพราะมีการค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกและชนิดพบใหม่สำหรับเมืองไทยหลายชนิด

ดินถล่ม-สันไม้แดง จากลานไทรต้องไต่ขึ้นเขาชัน เข้าเขตป่าดิบเขาต่ำที่จะได้พบมหาสดำเล็กและกล้วยไม้ป่าดิบเขาแปลก ๆ ควรระวังเพราะดินบนเขาหลวงเกิดจากการผุพังของหินอัคนี จึงยังมีดินถล่มเกิดอยู่ตามหน้าผาเสมอ

ลาน ฮ.-หุบผามหาสดำ พื้นที่สันเขาที่มีทางแยกลงหุบด้านขวาไปยังหุบผามหาสดำ ซึ่งสามารถมองเห็นป่าต้นน้ำได้อย่างชัดเจน

ดงหวายเหิง-ลาน ดร.ชวลิต เป็นเส้นทางผ่านป่าดิบเขาที่มีหวายเหิงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย มักมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา หากมาช่วงฤดูร้อนจะพบเอื้องสายเสริตและก้ามกุ้งขนออกดอกอยู่ทั่วไป

ป่าเมฆ-ยอดเขาหลวง บริเวณนี้คือป่าเมฆอันเป็นป่าต้นน้ำแม่น้ำตาปีควรแวะลงไปที่จอมน้องเพื่อชมหุลผาปะการัง หรือดงไลเคน สิ่งมีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันของสาหร่ายและราบริเวณยอดเขาหลวงมีเฟิร์นบัวแฉกที่เป็นเฟิร์นดึกดำบรรพ์ซึ่งยังคงรูปร่างเหมือนเมื่อ ๒๓๐ ล้านปีก่อน

ที่มา http://www.thaiextreme.net/forums/index.php?topic=290.msg4434#msg4434

Wednesday, September 22, 2010

หัวข้อวิจัย

แบคทีเรียที่ทนต่อโลหะหนัก นำไปใช้กำจัดสารพิษโลหะหนักได้

วิเคราะห์ใบโกงกาง หาโอเมก้า 3 สำหรับนำไปทำอาหารสัตว์
วิเคราะห์หาวิตตามินบีจากใบโกงกางป่าชายเลน

การเพิ่มประชากรปูแสมในพื้นที่ป่าชายเลน

Sunday, September 12, 2010

สืบเสาะหาความรู้

ลักษณะของการสืบเสาะหาความรู้หรืออินไควรีทางวิทยาศาสตร์  เกือบทั้งหมดของการสืบเสาะในทางการศึกษา  อยู่บนพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเป้าหมายหลักอย่างหนึ่งคือการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ บนฐานของวัตถุประสงค์ และการเฝ้าสังเกตอย่างเป็นระบบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

สมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลาย

สมุนไพรที่ใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ได้แก่
โหระพา ขมิ้น ตะไคร้ หอม กระเทียม ใบพริกขี้หนู ใบมะขาม  เฉพาะน้ำกระเทียมอย่างเดียวก็กำจัดยุงลายได้ดี

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

เป็นพืชที่มีถุงดักจับแมลง ย่อยสลายแมลงเป็นอาหารได้  แต่ส่วนถุงที่ว่านี้นำมาใช้เป็นบรรจุอาหารชนิดหนึ่งที่นิยมกันมากคือข้าวเหนียวต้มยัดใส่ถุงหม้อข้าวหมอแก้งลิงนี้ นำไปต้อมให้ข้าวเหนียวสุกแล้วสามารถที่จะรับประทานได้ทั้งถุงเลย

ฝนเทียมที่นคร

เท่าที่ทราบนครเคยมีการทำฝนเทียมเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อที่จะดับไฟป่าที่ลุกลามป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของป่าพรุแห่งนี้คือ กระจูดที่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จักสานหลายชนิด

ภาวะโลกร้อน

สาเหตุหลักมาจากภาวะเรือนกระจก เนื่องจากชั้นโอโซนถูกทำลาย  การปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม  การปล่อยแกสไอเสียจากรถยนต์ มีทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ และโมโนออกไซด์ CO.  นอกจากนี้แล้วอาจมาจากการใช้เชื้อเพลิงรูปแบบต่างๆ ของมนุษย์ และรวมทั้งการใช้สารเคมี เช่นสาร CFC สารมีเทน (Metane)

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ฤดูกาลเปลี่ยน สภาพอากาศเปลี่ยนไป  เกิดฝนกรด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปะการังตาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จากน้ำแข็งละลายที่ขั้วโลก อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง สัตว์บางชนิดไม่มีที่อยู่อาศัย  ในบางประเทศที่รับผลกระทบไฟป่า คลื่นความร้อน น้ำท่วมและพายุที่รุนแรงมากขึ้น

ผลผลิตจากเกษตรกรรมเสียหาย ศัตรูพืชระบาดฝนไม่ตกตามฤดูกาลที่ควรจะเป็น

โจทย์วิจัยจัดทำหน่วยการเรียนรู้

ในการทำวิจัยจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชน นั้นโดยการสร้างบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องการอนุรักษ์ ป่าชายเลนในพื้นท่ปากนครในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชนให้มีคุณค่าได้อย่างไร

บริบทชุมชนอ่าวนครอ่าวนคร เป็นอย่างไร ทรัพยากรป่าชายเลนเป็นอย่างไร ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเสื่อมโทรมของป่าชายเลน

ชุดการเรียนรู้ที่เหมาะสมเป็นอย่างไร ชุดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ที่สงผลกระทบต่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนได้หรือไม่

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ได้ให้ทัศนะความเห็นถึงว่าจักรวาลของเราทำงานอย่างไร ซึ่งอย่างไม่สามารถเทียบได้กับความสวยงามและความเข้าใจอันยิ่งใหญ่ จากเหตุการณ์การระเบิดของดาวฤกษที่อยู่ห่างไกล ไปจนถึงการทำงานของทุกเซลล์ในร่างกายของเรา การให้ได้มาซึ่งความรู้เหล่านี้ แน่นอนว่าเป็นความสำฤทธิ์ผลอันยิ่งใหญ่ของปัญญาญาณของมนุษย์

เพราะว่าวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ที่ไม่สามารถแยกจากกัน มีหลายแบบหลายแนวทางที่จะนำเสนอ  หลายแนวทางใช้การแบ่งแบบชิ้นขนมพาย ตัวอย่างเช่นเราสามารถที่จะมุ่งเน้นหลักการทั่วไปภายใต้โลกทางกายภาพ  เราสามารถมองไปที่สาขาเฉพาะ ดาราศาสตร์ ชีววิทยาโมเลกุล ธรณีฟิสิกส์  ในรายละเอียด โดยไม่สนใจความเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆ ของโลก หรือเราสามารถที่จะแตกเนื้อหาความรู้ทางวิทย์เป็นหน่วยความรู้เล็กๆ จะใช้วิธีแบบใดขึ้นอยู่กับบริบทของตัวเอง

แกะรอยห่วงโซ่อาหาร

เมื่อตามรอยห่วงโซ่อาหารใดๆ ถอยกลับไปมากพอแล้ว และจะพบพืชหนึ่งเป็นตัวสร้างพลังงานให้กับรูปแบบของชีวิตระดับที่สูงขึ้นทั้งหมดบนโลก พลังงานเข้ามาสู่ดาวเคราะห์โลกของเราในรูปของแสงอาทิตย์จากดวงอาทิตย์ พืชดูดกลืนเอาพลังงานบางส่วนจากพลังงานแสงอาทิตย์ และผ่านกระบวนการทางปฏิกิริยาเคมีของการสังเคราะห์แสง เก็บพลังงานไว้ในรูปของน้ำตาล ไขมัน น้ำมัน และแป้ง สัตว์กินพืช (Herbivores) กินพืชเป็นอาหารเพื่อดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ตามกระบวนการพลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนห่วงโซ่อาหารให้ดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

การค้นหาแนวทางใหม่

การใช้ชีวิตร่วมกันตามวิถีชีวิตดั้งเดิมอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป ทั้งที่บ้าน โรงเรียนสถาบันการศึกษาควรจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ให้พร้อมที่จะยอมรับความท้าทายใหม่ๆ  ที่จะทำให้เป็นผู้บุกเบิกที่จะค้นพบโลกใหม่ ทั้งนี้เพราะการอยู่รอดของมนุษย์ชาติไม่ใช่การมีร่างกายที่แข็งแรงที่สุด แต่อยู่ที่การปรับตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและบริบท   ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือการเข้าใจกันและกัน ต้องการกันและกัน เพื่อกันและกัน ที่ขึ้นอยู่กับทุกคนที่จะดำเนินการไปเพื่อค้นหาแนวคิด และวิธีปฏิบัติใหม่ๆที่หนุนนำให้เกิดการสร้างสรรค์ชีวิต และองค์กรให้มีคุณค่า เป็นที่พักพิงของชุมชน และมวลมนุษย์

การต่อสู้ของชีวิต

ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งว่าคนเกิดมาแล้วมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่การมีสถานะที่แตกต่างกัน  มีทั้งคนที่เกิดมามีอะไรที่สมบูรณ์เพียบพร้อมเกือบทุกอย่างแล้ว ทั้งทรัพย์สินเงินทองจากมรดกตกทอด จนบางคนอาจกล่าวได้ว่าไม่ต้องทำอะไรก็อยู่ได้ตลอดชาติ  แต่สำหรับคนที่เกิดมาอยู่ในสถานะที่ต่ำต้อยกว่า ในทางตรงกันข้ามก็ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดมากกว่า แต่ก็นับว่าเป็นโอกาสที่จะพัฒนาให้ตัวมีความมั่นคงมีฐานะ ถือได้ว่ามีโอกาสมากว่าผู้ที่เกิดมาคาบช้อนเงินช้อนทองออกมา  โอกาสของคนที่จะเฉื่อยชาก็มีสูกว่า

กล่าวได้ว่าทุกคนต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดกันทุคน เพราะชีวิตคนทุกคนต้องต่อสู้ดินรนตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา มีอสุจิเพียงตัวเดียวที่ต่อสู้ฟันฝ่าเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ จากนั้นก็ต้องต่อสู่เพื่อความอยู่รอด ดังที่กล่าวแล้วว่าการต่อสู้พึงพาตนเองในแต่ละคนแตกต่างกัน การต่อสู้จึงเป็นการค้นหาแนวทางการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ชีวิตส่วนตัว องค์กร ชุมชนแสวงหาการเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่รอดและคงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน นั้นก็เกิดขึ้นภายในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เช่นเดียวกับชีวิตที่ไอน์สไตย์เคยเปรียบเปรยไว้ว่าเหมือนกับการขี่จักรยาน หากจะไม่ให้จักรยานล้ม ก็ต้องออกแรงถีบให้เคลื่อนไปข้างหน้า นั่นหมายถึงชีวิตต้องดำเนินต่อไปจะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงที่แสวงหาให้เกิดขึ้นนั้นด้วยความหวังให้การเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดี มีประสิทธิผล มีผลกระทบที่เห็นสัมผัสได้ สนับสนุนส่งเสริมการเชื่อมโยงที่ทำให้เราเข้าใจชีวิต ว่าชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในเส้นทางที่สวยงาม

เมื่อเอารายได้เป็นตัวตั้ง

การเอารายได้เป็นตัวตั้งหรือเอารายได้เป็นตัวชีวติ ดังที่ประเทศต่างๆ ทำกันที่ตีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือผลิตผลของประเทศเป็นตัวเงิน  ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ แต่อาจมีผลิตภัณฑ์มวลรวมเท่าๆ กับประเทศไทยอันแสดงให้เห็นว่ารายได้ตัวหรัวผลเมืองก็มีค่าสูงตามไปด้วย ประชาชนก็มีรายได้สูงประชาชนในประเทศไทยแน่นอน  ตัวชีวัดที่ใช้รายได้ เมื่อมองในแง่ลบอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมต่อเปลี่ยนไป บ้างก็ทิ้งวิถีชีวิต ทิ้งที่ที่เคยทำกิน และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดได้แก้การบุรุกที่ป่าไม้ ทำให้ป่าไม้ถูกทำลาย และเกิดมลภาวะสูงมากขึ้น  เพราะกว่าที่เราจะได้มาซึ่งรายได้ เราต้องเอาทรัพยากรไปแลกโดยละเลยหรือไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา

การใช้รายได้เป็นตัววัดอีกอย่างหนึ่งก็คือการมีวัตถุไว้ในครอบครอง ผู้ที่มีรายได้มากก็มีโอกาสที่จะมีทรัพสมบัติมากกว่า และที่เป็นอันตรายหากคิดไปถึงว่าการมีรายได้สูงแล้วจะมีศักดิ์ศรีความเป็นคนมากกว่า ทำให้คนมุ่งที่จะสะสมทรัพสมบัติ บางครั้งก็ไม่ได้คำนึงถึงการได้มาว่ามีความถูกต้องเพียงไร การมุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามาถ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รายได้อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่เป็นปัจจัยในการดำรงอยู่ตามอัตภาพตามมาตรฐาน เพราะคนที่มีความรู้ก็จะสามารถหาทรัพย์ได้อย่างสุจริต ไม่กอบโกยสะสมทรัพย์ขณะที่ผู้อื่นโดยรอบข้างยังเดือดร้อนขาดแคลนอยู่อีกมาก 

ทรัพสมบัติทุกอย่างเป็นของนอกกายมีแต่เสื่อมสลายใช้หมดไป แต่ความรู้ยิ่งจ่ายยิ่งไม่หมดและสร้างความมั่นคงแห่งชีวิต แต่เงินเมื่อยิ่งจ่ายยิ่งหมด

Thursday, September 9, 2010

คุณภาพการศึกษาเรื่องใดสำคัญ

ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ตกต่ำลง ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพคือปัจจัยด้านครู ที่ผ่านมามีความไม่พอเพียงของครูใน 5 ปีที่ผ่านมาจากการจำกัดกำลังพลภาครัฐของกพร. อัตราครูหายไปถึง 53000 อัตรา คุณภาพนักเรียนลดลง และอีก 10 ปีครูเกษียณ 180000 คน จึงเป็นหน้าที่ของอุดมศึกษาในการผลิตครู

การปฏิรูปประเทศไทยปฏิรูปการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง อันสืบเนื่องมาจากพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พศ.2542 จากการที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

ทำให้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้มีเอกภาพ และตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อปรับปรุงการศึกษา  และมุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่กับการผลักดันเศรษฐกิจ

การศึกษาในระดับอาชีวะ ปวช.  ปวส พบว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ไปศึกษาต่อปริญญาตรีอุดมศึกษาทำให้ขาดแรงงานด้านช่าง   

ความท้าทายต่ออุดมศึกษาในการปฏิรูป

  • การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ความเหลี่ยมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ความขัดแย้ง ความรุนแรงในสังคม
  • การรักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
โอกาสสำคัญที่มหาวิทยาลัยจะได้ทบทวนยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการงาน เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนปฏิรูปประเทศไทย  ทั้งนี้เพราะมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญา วิชาการ และแหล่งพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเป็นสถาบันในการสนับสนุน ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

ทำอย่างไรให้มีความชัดเจนขึ้นในการปฏิรูปประเทศไทย และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน  การจัดการกับความเหลี่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม และการจัดการความขัดแย้งในสังคม 

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างผู้บริหาร จะเพิ่มโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย

การหาความรู้ทางการศึกษา

การสืบเสาะหาความรู้ทางการศึกษาขึ้นอยู่บนฐานของการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ อันมีเป้าหมายหลักที่รวบรวม สารสนเทศ อันเป็นวัตถุประสงค์ และการเฝ้าสังเกตการณ์ธรรมชาติอย่างเป็นระบบ ความพยายามให้ได้ความสัมพันธ์จนเป็นเหตุผลที่เป็นไปได้

ระบบของปรัชญาภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มักอ้างอิงถึงแนวปรัชญา (logical positivism) ซึ่งหลักการสำคัญอย่างหนึ่งอนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติจะได้รับการตรวจสอบ ตามวัตถุประสงค์คือ
  • เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรหรือมากกว่า
  • หาค่าการทำนายผลสัมฤทธิ์มีนัยสำคัญทางสถิติจากค่าตัวแปร 1,2...

ลักษณะสถาบันอุดมศึกษาที่ควรจะเป็น

ทำอะไรต้องมองที่ผลลัพธ์ เราต้องคิดผลลัพธ์ให้ออกเสียก่อน แล้วจึงทำให้เกิดผลลัพธ์นั้น องค์กรจะอยู่รอดปลอดภัยก็ต่อเมื่อทำให้คนในองค์กรเก่ง สามารถที่จะสร้างงาน สร้างผลิตภัณฑ์ หรือมีผลผลิตที่สามารถขายได้  สถาบันอุดมศึกษาควรจะได้เปลี่ยนห้องเรียนเป็นที่สร้างความรู้ และปัญญา สร้างความเป็นผู้นำ สร้างภาพลักษณ์ที่แสดงจุดเด่นของหน่วยงาน

การทำบาป

การทำบาปเป็นสิ่งต้องห้ามที่ทุกคนพึงหลีกเลี่ยง เพราะจะนำไปสู่อบายภูมิ 4  อ้นได้แก่ เดียรัจฉาน  เปรต  อสุรกาย  และสัตว์นรก

พันธ์วัวลูกผสม

ถ้าดูวัวที่เลี้ยงทางภาคใต้และทางภาคอิสานมีความแตกต่างกัน วัวทางใต้จะเป็นสายพัน
ธ์ดั้งเดิมมากกว่ายังไม่ผสมกับวัวพันธ์อื่นน่าจะเป็นพันธ์ไทยแท้ เช่นทางภาคเหนือลำพูนจะมีวัวพันธ์ชื่อขาวลำพูน หรือวัวลาน

ประเทศเวียตนามบริโภคเนื้อวัวมากขึ้นจนขาดแคลนจึงมาซื้อวัวเนื้อจากประเทศไทย ตามที่ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่ามารับซื้อวัวตัวโตๆ ตอนแรกก็คิดว่าจะนำไปเป็นพ่อพันธ์

สหกิจศึกษา

ในการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติให้ทำได้ทำเป็น สหกิจศึกษาเป็นวิธีการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นโอกาสของนักศึกษา ที่เมื่อไปฝึกงานตามแนวสหกิจศึกษา แล้วสถานประกอบการอยากรับเข้าทำงานทันที

การทำสหกิจศึกษาต้องติดต่อสถานประกอบการก่อน สถานประกอบการต้องการบางเรื่อง และมีบทบาทน้อย แต่อาจจ่ายเงนิค่าตอบแทนให้

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการได้ระบุจะสร้างแหล่งเรียนรู้ใหม่ และเปิดคลังความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
  • นโยบายในการสร้าง แหล่งเรียนรู้ ทางสังคม วิถีชีวิต
  • การปฏรูปการศึกษารอบสอง

ความหมายของสติ

ในทางธรรมความหมายของสติ คืออาการที่รู้ตัวขึ้นมา ใขณะปัจจุบันว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

ผลของสมถกรรมฐาน

การปฏิบัติสมถะได้ญานอรูปพรม 16 ชั้น ดังปรากฏอยู่ใน อัมมจักกัปปวิตตนะสูตร
โดยการวิปัสนะ สามารถเข้าสู่ พระโสดาบัน  พระสกทคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

การทำทาน รักษาศิล และภาวนา

การทำทาน รักษาศิล และภาวนาที่มนุษย์ทั่วไปสามารถกระทำได้สามารถเข้าสู่สวรรค์ 6 ชั้นคือ
  • ชาตุมหาราชิก
  • ดาวดึงส์
  • บามา
  • กุดุสิต
  • นิมามนรตี
  • ปรินิมมิตวสวัตดี

โอวาทปาฏิโมกข์

โดยสรุปแล้วไปทำความชั่ว ทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องแผ้วหรือบริสุทธ์  โดยการทำความดีก็ได้ผลดี การทำชั่วก็ได้ผลชั่ว

กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น

หมายถึงการทำงานอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อตอบคำถามหรือความสงสัยบางอย่างโดยมีการแยกแยะประเด็นว่า ข้อสงสัยอยู่ตรงไหน มีการค้นหาข้อมูลก่อนทำมีการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีการวางแผนการทำงาน บนฐานข้อมูลที่มีอยู่ และในระหว่างลงมือทำ ก็จะมีการทบทวนความก้าวหน้า วิเคราะห์ความสำเร็จและอุปสรรคอย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดก็สามารถสรุปบทเรียนเพื่อตอบคำถามที่ต้้งไว้ แล้วอาจจะทำใหม่ได้ดีขึ้น โดยทั้งหมดดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้สงสัยนั่นเอง (ศ.ดร.ปิยะวติ บุญหลง,2543)

มุ่งเน้นให้คนในชุมชนเข้าร่วมกระบวนการคิดตั้งคำถามวางแผน และทำวิจัยเพื่อหาคำตอบอย่างเป็นระบบ และเรียนรู้จากการทำงานวิจัย ที่เป็นเชิงปฏิบัติการจริง (Action research) เพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง โดยมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นเหตุเป็นผล งานวิจัยแบบนี้ไม่ได้เน้นที่ผลงานวิจัย หรือการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ หากแต่มองกระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเพิ่มพล้ง (Empowerment) ชุมชนในการจัดการตามแผน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนได้

ใช้เวทีทั้งในระดับหมู่บ้านตำบล สร้างความตระหนัก และหาแนวทางในการจัดการขยะตำบล ทำให้เกิดความรู้ในท้องถิ่น และเป็นประโยชน์กับท้องถิ่นโดยตรง

การรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรม จะได้เอกสารที่รวบรวมภูมิปํญาไว้ให้ลูกหลาน นำความรู้ดังกล่าวไปสอนในโรงเรียนประถมศึกษา จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่เพื่อการท่องเที่ยว 

ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยคนในท้องถิ่นเองทำให้คนในท้องถิ่นเก่งขึ้น  เกิดกลไก หรือองค์กรชุมชนที่จัดการพัฒนาต่อยอด เช่นการเสริมศักยภาพอบต. เครือข่ายออมทรัพย์ กองทุนในระดับหมู่บ้านตำบล

เครื่อข่ายเยาวชนเพื่อจุดประกายให้เยาวชน เชื่อมโยงไปถึงปัญหา และแนวทางในการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีกด้วย

การวิจัยเพื่อความรู้ใหม่ทางวิชาการและภูมิปัญญา การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนากำลังคนด้วยการวิจัย  ประเด็นหรือโจทย์อะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือคนในท้องถิ่น เห็นว่ามีความสำคัญและอย่ากจะค้นหาคำตอบร่วมกัน

หมายเหตุชุมชนหมายถึงกลุ่มคนในพื้นที่ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการ

พักค้างที่วังเวียงประเทศลาว

ตอนที่เดินทางไปเที่ยงหลวงพระบางโดยเดินทางจากหนองคายไปยังเวียงจันทร์เมืองหลวงของลาว ใช้เส้นทางลัดออกจากเวียงจันทร์มุ่งสู่วังเวียง  ดูเหมือนว่าวังเวียงจะอยู่ในหุบเขา โดยมีภูเขาล้อมรอบ มีแม่น้ำซองไหลผ่าน  ช่วงน้ำหลากน้ำจะขุ่นแดง และไหลแรงมาก อันแสดงให้เห็นถึงว่าฝนเพิ่งตกหนักมาไม่นาน หรืออยู่ในช่วงที่ฝนกำลังตกและไหลลงแม่น้ำซองนี้อยู่ จะเห็นขอนไม้ที่ตายแล้วลอยมาตามลำน้ำนี้ไม่ขาดสาย และที่มาพร้อมๆ กันก็คือขวดน้ำ ภาชนะปล๊าสติกลอยมากกับลำน้ำไม่ขาดสายด้วย

สำหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศชาติตะวันตกหรือฝรั่ง มีสไตล์รูปแบบการท่องเที่ยวคล้ายๆ กันกับชุมชนนักท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่มีร้านขายอาหาร ร้านขายของที่ละลึก ร้านเน็ต กิจกรรมที่เสนอให้นักท่องเที่ยวก็คงมีการปีนเขา ล่องเรือคยัก ที่มีใบพายสองด้านคนพายจับไม้พายตอนกลาง ลักษณะเรือคล้ายเรือแคนนูตามแม่น้ำซอง ช่วงที่น้ำไหลเชี่ยวกรากนั้นการพายเรือก็จะอยู่ริบขอบแม่น้ำ ผู้ที่ล่องเรือมีทั้งสวมเสื้อชูชีพและใส่หมวกกันน็อค