Friday, November 13, 2009

ทำไมจึงกล่าวว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นยาอายุวัฒนะได้

น้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอี ที่เป็นตัวต้านออกซิแดนซ์ และต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสื่อสภาพลด สามารถลดการเสื่อมสภาพของร่างกาย  ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ซ่อมแซมส่วนสึกหรือ ใช้น้ำมันมะพร้าวทาผิวลดรอยเหี่ยวย่อน ลดฟ้า จุดด่างดำ ทำให้ผิวเนียนนุ่ม ไม่ทำให้ผิวกร้านแดด

ผลการศึกษามะพร้าวที่ตาลปัตร

จากที่เคยเชื่อกันว่ามะพร้าวมีไขมันชนิดที่อิ่มตัวมีคอเรดเตอร์รอลสูง ทำให้พยายามหลีกเลี่ยงรับประทานมะพร้าวในบางครั้ง แต่ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้กลับตาลปัตรไปจากที่เคยเชื่อเดิม กลับพบว่าเป็นไขมันที่อิ่มตัวน้อยกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นและ ร่างกายสามารถเผาผลาญเป็นพลังงานได้หมด ทำให้ไม่อ้วนและมีตัวยาป้องกันและฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วย

การอุดตันของเส้นเลือดเกิดจากอะไร

จากการที่ร่างกายรับประทานไขมันอิ่มตัวที่มีคลอเรสเตอรรอลสูง แล้วร่างกลายจะเปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด ที่ไปทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้หัวใจขาดเลือดได้ หรืออาจทำให้เกิดหัวใจวายได้

น้ำมันมะพร้าวมีวิตามินที่มีประโยชน์มากใด

น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ตามกระบวนการอัดเย็น จะมีวิตามินอีก ที่เป็นตัวต่อต้านแอนติออกซิแดนซ์  และเป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระ (free radicals)

น้ำมันมะพร้าวมีสรรพคุณดีกว่ายาปฏิชีวนะอย่างไร

เพราะในน้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก(lauric) ถึง 50 เปอร์เซนต์ ถือว่าเป็นสารที่มีส่วนสำคัญในการสร้างภูมคุ้มกัน ดีกว่ายาฆ่าเชื้อโรคหรือสารปฏิชีวนะ ทำลายเชื้อโรคได้เกือบทุกชนิด สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ และโปรตัวซัว และยังฆ่าไวรัสบางชนิด ร่วมทั้งฆ่าเชื้อที่มีการสร้างเกราะไขมันหุ้มไว้ได้ ทั้งนี้น้ำมันมะพร้าวจะละลายเกราะที่ห่อหุ้มออกและถูกฆ่าเชื่อด้วยกรดลอริกในน้ำมันมะพร้าว โดยที่น้ำมันมะพร้าวเป็นสารปฏิชีวนะที่ไม่เป็นพิษ และไม่เป็นอันตรายต่อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในลำไส้

ทำไม่รับประทานน้ำมันมะพร้าวจึงไม่อ้วน

ประการแรกมีไขมั่นที่อิ่มตัวตำกว่าน้ำมันอื่นๆ และ เมื่อรับประทานน้ำมันมะพร้าวแล้วสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้ทันที จึงแทบไม่มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกาย

Monday, November 9, 2009

Software Reviews: The World of Animals 3 D

The Ultimate Multimedia Encyclopedia
Glasklar Edition 2 CD-ROMs
ใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนที่น่าตืนตา ภาพสามมิติรุ่นใหม่ และนำเสนอวิดีโอขนาดใหญ่ มีภาพวาดที่ให้รายละเอียด  ภาพถ่ายที่สดใสคมชัด ส่วนการควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อความอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย เสมอต้นเสมอปลาย มีส่วนการสืบค้นได้งาย และมีการเชื่อมโยงกับอินเตอร์เนตเพื่อการวิจัย มีส่วนช่วยการพิมพ์ต่างๆ และยังมีการวิวัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ให้เห็นอีกด้วย

Sunday, November 8, 2009

แนวคิดการสอนวิทย์เพื่อความเข้าใจ

การสอนวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปในลักษณะที่ส่วนใหญ่ของนักเรียนที่สอนได้เข้าใจมากกว่าการจำ มีทางที่เป็นไปได้ แต่ต้องอาศัยจำนวนหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ที่สำคัญ ของนักเรียนที่มีมโนทัศน์ซื่อใส่ไร้เดียงสาอยู่ และยุทธวิธีการสอนสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์
  • ครูจำเป็นต้องรับเอาเป้าหมายในการช่วยนักเรียนส่วนใหญ่ทั้งหมดให้เข้าใจวิทยาศาสตร์
  • ครูจำต้องจัดหาเข้าไปจัดการหัวข้อเนื้อหาความรู้เฉพาะที่ขณะนี้ (ตอนสอน) ไม่ได้มีสภาพที่จะพร้อมให้แก่ผู้เรียน

Saturday, November 7, 2009

ฟิสิกส์แบบฉบับ

จากความคิดอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป 2 ประการคือแนวคิดเรื่องสนาม และอนุภาค  โดยอนุภาคเป็นสิ่งที่มีมวล ประจุ และตำแหน่งใน สเปสซ์ แต่สนามไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว แต่มีอยู่ทุกที่ซึ่งสนามนำโมเมนตัมและพลังงานไปทั่วทั้งสเปสซ์ทึ่มีสนามอยู่  การมองภาพเช่นนี้ถือว่าเป็นฟิสิกส์ดั้งเดิม  หรือแบบฉบับ  โดยฟิสิกส์แบบฉบับสามารถที่จะอธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ได้อย่างถูกต้องกว้างขวา และสามารถใช้คำนวณเส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์อย่างละเอียดถูกต้องสูง และยังใช้ได้กับการคำนวณ เกี่ยวกับ แสง เสียง ความร้อน สภาพแม่เหล็ก และไฟฟ้า

เป็นที่แน่นอนว่าทฤษฎีสัมพันธภาพ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อภาพของฟิสิกส์ดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญ  แต่ยังไม่เปลี่ยนแปลงการแบ่งแยกระหว่างอนุภาคและสนาม  องค์ประกอบในความเป็นจริงของทฤษฎีสัมพันธภาพไม่ได้เปลี่ยนมโนทัศน์ทั่วไปของอนุภาคและสนาม   จากการริ่เริ่มในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการทดลองหลักและผลงานเชิงทฤษฎีปรากฏออกมา นำไปสู่การทบทวนแนวความคิดรากฐานเดิมของโครงสร้างของโลก  ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ยิ่งกว่าทฤษฎีสัมพันธภาพอย่างมาก งานต่างๆที่เคยมีอยู่ดั้งเดิมดังกล่าวนำไปสู่ทฤษฎีที่เรียกว่าทฤษฎีควอนตัมในปัจจุบัน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นอิสระจากทฤษฏีสัมพันธภาพ  จะพิจารณาฟิสิกส์สัมพันธภาพก็ต่อเมื่อระบบที่มีวัตถุกำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่เทียบกับความเร็วของแสง  เมื่อเทียบกับฟิสิกส์ควอนตัมจะใช้เมื่อพิจารณาระบบในมิติระดับอะตอมหรือเล็กกว่า ซึ่งเป็นการนิยามอย่างหยาบๆ  เป็นหลักอย่างง่าย  ในอีกทางหนึ่งสถานะการณ์ที่คงอยู่ สามารถใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพกับปรากฏการณ์ความเร็วต่ำ ใช้ทฤษฎีควอนตัมกับวัตถุขนาดใหญ่ ในอีกทางกรณีที่มีอยู่สามารถใช้ฟิสิกส์ดั้งเดิมแบบไม่มีสัมพันธ์ภาพ  แม้ว่าดูเหมือนว่าทฤษฎีจะถูกต้องทั้งหมด  แต่เมื่อวิเคราะห์ระบบขนาดเล็กที่เป็นอนุภาค ที่มีความเร็วสูง ซึ่งจะต้องใช้หลักการของสัมพันธภาพทางฟิสิกส์ควอนตัม  แต่เรายังไม่อาจเข้าใจระบบเช่นนั้นทั้งหมด  เพราะขณะยังเป็นเรื่องยุ่งยาก งานที่ยากลำบากต่อการทำความเข้าใจ ที่พยายามพัฒนากลศาสตร์ควอนตัมสัมพันธภาพ

เกี่ยวกับจิตหรือใจ

จิตใจเป็นตัวสั่งสมองเปลี่ยนเป็นสติไปทำงานแทนใจ ให้สติควบคุมสมอง คือทำใจให้สงบ ให้นิ่ง เหมือนไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ แล้วจึงใช้สติไปควบคุมกายวาจาใจ ความคิดต่างๆ ที่มี

จิตหรือใจ เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แต่รู้สึกได้ รับรู้ได้  สติคือตัวรู้อาการของจิต เป็นเครื่องตรวจจับอาการของจิต รู้ว่าจิตกังวล จิตเป็นทุกข์ จิตเป็นอกุศล จิตไม่เป็นทั้งอกุศล และอกุศล

ตัวการสำคัญที่ทำให้จิตเกิดอาการคือ ขันธ์ทั้ง 5  อันได้แก่ รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ การฝึกจิตไม่ให้จิตส่งผลต่อสมอง เป็นจุดประสงค์ที่ต้องการ

ปัญหาและเกณฑ์การตัดสินการขอผลงาน

มีคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ประกอบด้วย
  ประธานกรรมการมาจาก กรรมการสภา
  กรรมการ 5-20 ท่านครอบคลุมสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน กรรมการมาจากผู้ทรงคุณวุฒินอกสภามหาวิทยาลัย จากบัญชีรายชื่อของ กพอ. มีศาสตราจารย์มากกว่า 800 คน เตรียมไว้พิจารณาตำแหน่ง  ส่วนเลขาเป็นใครก็ได้ที่อธิการแต่งตั้ง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมิน reader เป็นผศ.จะมาอ่านผลงาน รศ.ไม่ได้ ให้หา reader จากบัญชีรายชื่อที่จัดโดย กพอ.


ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์
โดยมี1
           1.1ผลงานวิจัย หรือ
           1.2ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น
          2 ผลงานแต่งเรียบเรียง แปลตำราหรือหนังสือ หรือบทความทางวิชาการ


ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ กรณีที่เป็นงานวิจัย เป็นหลักในการวิจัยไม่น้อยกว่า 50 %  งานวิจัยชุดโครงการ ผู้ขอมีส่วน 50 %  ปัญหาจากการวิจัย เช่นระเบียบวิธีวิจัยไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ผิดวัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป  วิธีการสุ่มไม่ถูกต้อง สถิติไม่ถูกต้อง แก้ไขข้อมูล บิดเบือน
งานวิจัย ขาดการวิเคราะห์ ไม่ตรงตามที่เสนอขอ ไม่ได้ตีพิมพ์

มีเกณฑ์ตัดสิน อยู่ในระดับคุณภาพดี 
โดยความเห็นของ reader จะเป็น
          1. คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ ตกเมื่อไม่เข้าเกณฑ์
          2. คุณภาพงานวิจัยผ่าน  ตำราไม่ผ่านปรับปรุงใน 3 เดือน
              ผู้ขอแก้ไข อกม. ชุดเดิมพิจารณาต่อไป
ตำราที่อยู่ในระดับดี มีการสังเคราะห์ และเสนอความรู้ใหม่
กรณีไม่ผ่านอาจเนื่องจากเหตุดังนี้

ใช้ศัพท์วิชาการ ผิดบัญญัติศัพท์ เรียงลำดับไม่ถูกต้อง พิมพ์ผิดมาก  รูปภาพตารางขาดการอ้างอิง แหล่งที่มา เนื้อหาไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุม
ตำราวางโครงเรื่องไม่ตรงกับเหตุผลทางวิชาการ เนื้อหาสาระน้อย มีวรรคตอนไม่ถูกต้อง
ขาดรายละเอียด ไม่สมบูรณ์ อ้างอิงเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว เนื่อหาไม่ถูกต้อง ไม่เป็นระบบ ไม่คงที่
ใช้ภาษาพูดมาเขียนในตำรา  รูปแบบไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ เนื้อหาผิดพลาดทางวิชาการ
ใช้สอนผิดพลาด ผิดมโนทัศน์ ไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง  สร้างศัพท์ใช้เอง เนื้อหาวิชาการไม่ตรง
แต่ละบทไม่เชื่อมโยง ความมากน้อยแต่ละบทไม่สมดุลย์ เช่น บทที่ 1  30 หน้าบทอื่น 7 หน้า

ถ้าเป็นบทความวิชาการ ไม่เน้นด้านวิชาการ ไม่วิเคราะห์เจาะลึก

กำหนดให้มีการประชุม reader มีการส่งความเห็นให้เลขา ตัดสินโดยการประชุม พิจารณาว่าได้ หรือ ตก ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน
            

การขอผลงานข้ามจากผลงานในระดับผศ.ไปเป็น รศ.เลยทีเดียว กระทำได้เหมือนกันแต่ ทำกันน้อยมากเพราะต้องประเมินได้ผลดีมาก กรณีที่ระยะเวลาไม่ครบและขอ รศ.ได้โดยวิธีพิเศษยากขึ้น ต้องมีคนอ่าน 5 คน พิจารณาต้องดีเด่นเป็นต้น

รอบๆ ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์คือการแก้ปัญหาที่ซ้ำซากค้าคามานาน
1. การเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเอง และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
2. เน้นคุณภาพเพื่อการผลิตบริการ
3. กำหนดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การประเมินโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วม
4. สร้างสหสาขาวิชา ยุบเลิกวิชาที่มีความซ้ำซ้อน
5. การส่งเสริม และสนับสนุน การผลิตสื่อสารสนเทศ ทางการศึกษา

การแบ่งยุทธศาสตร์บางประการคือ
1 ยุทธศาสตร์ป้องกันฟื้นฟู
2. ยุทธศาสตร์เชื่อมโยง
3. ยุทธศาสตร์คานงัด

Friday, November 6, 2009

พันธกิจคืออะไร

บางครั้งอาจใช้คำว่า ภารกิจหรือปณิธานได้
พันธกิจ คือจุดหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่

ตีความการวิเคราะห์องค์กร

การวิเคราะห์ฃสภาพองค์กร ทำให้ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค
โดยมีจุดแข็ง เป็นสิ่งที่ต้องทำ จุดอ่อนเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง โอกาสเป็นจุดที่นำมาใช้ประโยชน์หรือจุดเปิดสู่การปฏิบัติใหม่ๆ ส่วนอุปสรรค์ขัดขวาง จุดที่จะต้องหลีกเลี่ยง การปฏิบัติ หรือปรับให้เป็นโอกาส

ภาพที่จะเกิดจากการวางแผน

ในระดับอุดมคติ: ปรัชญา/ปนิธาน (Philosophy /Will)
ภารกิจของหน่วยงาน/องค์กร (Mission)
จุดมุ่งหมาย (Goal)
วัตถุประสงค์ (Objective)
เป้าหมาย (Target) หรือเป้าหลัก

การกำหนดจุดยุทธศาสตร์ จะประกอบด้วย วิสัยทัศน์ควบรวมสภาพอนาคต (Vision+Futurism) เชื่อว่าสิ่งที่กำหนดในอนาคตคือสิ่งที่กำหนดในปัจจุบัน และใช้แผนเป็นเครื่องมือในการกำหนดอนาคต

สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตจะเกิดจากเงื่อนไขข้างหน้าขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ
1. การวิเคราะห์ภาระกิจของหน่วยงาน (mission analysis) ตอบได้ว่าภารกิจคืออะไร อยู่ที่ไหน ทำกิจกรรมพิเศษใด
2. การวิเคราะห์สถานะการณ์ในอนาคต มีวิธีคิดเหมือนกับการปล่อยคลื่นเรดาร์
  • หลักฐานการเปลี่ยนแปลงคือเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวเร่ง ในการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม
  • เป็นผลต่าวิถึชีวิต แบบแผนการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป แนวคิดทำมหาวิทยาลัย โรงเรียนให้ทันสมัย

กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์

ในการสร้างวิสัยทัศน์ โดยทั่วไปพิจารณาถึง
1. เป็นตัวบอกความคาดหวัง ในอนาคต 10-15 ปี ข้างหน้า  ที่แสดงความมุ่งมั่นในระยะยาว โดยที่ระยะกลางเป็นหลักกลยุทธ์ ในระยะวาวเป็นหลักยุทธศาสตร์
2. มีเจตนารมณ์ (สิ่งที่ต้องการให้เกิดชัดเจน)
3. จำได้ง่าย บุคลากรจำได้ นำไปปฏิบัติ
เมื่อคิดเป็นกระบวนการคือ
1. ระบุวัตถุประสงค์ขององค์กรให้ชัดเจน
2. การระบุภารกิจให้ชัดเจน (Mission)  องค์กรควรทำอะไรเป็นพิเศษ หรือสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ให้สังคมบ้าง
3. วิเคราะห์องค์กร หรือทำ SWOT
4. การสร้างวิสัยทัศน์  โดยตอบให้ได้ว่าวิสัยทัศน์นั้นเป็นที่เข้าใจของคนในองค์กร หรือวงการเดียวกัน
    โดยดูความเป็นไปได้ของวิสัยทัศน์ เป็นที่ชัดเจนหรือไม่ว่าเมื่อบรรลุวิสัยทัศน์แล้วจะเกิดผลใดขึ้น

เป็นการคิดนอกแบบ การคิดลักษณะที่สร้างสรรค์ แตกต่างจากเดิม แต่มีความเป็นไปได้  อาศัยประสบการณ์ การสะสมประสบการณ์ การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อาศัยเทคนิคการระดมความคิด เลือกใช้ให้เกิดประโยชน์กับสภาพขององค์กร

วิสัยทัศน์ 15 ปี ทอนลงมาทีละ 5 ปี เพื่อจัดทำแผนพัฒนาในแต่ละช่วง ที่มีความเป็นรูปธรรม ในช่วง 5 ปีแรก และมีความชัดเจนในช่วงต่อมา และในช่วง 5 ปีสุดท้ายจะเป็นจุดที่มุ่งมั่นเป็นหลัก

ว่าด้วยวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นภาพรวมในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำ และสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝัน หรือจินตนาการขึ้น โดยมีพื้นฐานความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม ความเชื่อเข้าด้วยกัน พรรณนาให้เห็นทิศทาง ขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึงความมุ่งมั่น ที่จะกระทำสิ่งยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้ลูกค้า และสังคม

วิสัยทัศน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย
1. ต้อการทำอะไรให้สำเร็จ (ภารกิจ)
2. ทำไมต้องทำให้สำเร็จ (วัตถุประสงค์)
3. คาดหวังผลเช่นไร

วิสัยทัศน์มักกำหนดขึ้นโดยคณะผู้นำองค์กร กำหนดร่วมกันโดยการประชุมสัมนา ระดมความคิดเห็น  ซึ่งต้องมีความชัดเจน บอกได้ว่าองค์กรจะเป็นอย่างไร และทำอะไรในอนาคต ระบุความเชื่อพื้นฐาน  และมีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว
    ส่วนวิสัยทัศน์ของหน่วยงานย่อยในองค์กรจะต้องสอดคล้องหรือสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กรด้วย

การเลือกกลยุทธ์เป็นอย่างไร

กลยุทธ์โดยทั่วไปหมายถึงวิธีการดำเนินงานที่สำคัญ เป็นหลักในการปฏิวัติไปสู่สภาพที่ต้องการ เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ สภาพอนาคตที่กำหนดไว้  ด้งนั้นจึงต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม  ในการเลือกคำนึงถึงสภาพในอนาคตคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานะการณ์เห็นโอกาส และรู้จุดดีจุดเด่น ตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานสู่จุดหมาย

การค้นหากลยุทธ์โดยหลักการมองกว้าง เห็นไกลรอบคอบ กำหนดโดยมุ่งหา S สูง O สูง  S สูง T ต่ำ  W ต่ำ O สูง  และ W ต่ำ  T ต่ำ

กลยุทธ์เชิงรุก เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy)
กลยุทธ์คงที่ (Stability Strategy)
กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy)
กลยุทธ์การตั้งราคา การขาย
กลยุทธ์แข่งขัน
กลยุทธ์ผู้นำ
กลยุทธ์สร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และบริการ
กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายในภายนอกองค์กร

ศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการ  ศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไข ข้อจำกัด องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา เป็นต้นว่า
         นโยบายการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น
         ศึกษาความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ความต้องการของผู้ปกครอง นักศึกษา ชาวบ้าน ชุมชน

ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ด้วย
1. จุดแข็ง (Strengths) หรือข้อได้เปรียบ
2. จุดอ่อน (Weakness) จุดอ่อนหรือข้อได้เปรียบ
3. โอกาส (Opportunities)  โอกาสที่จะดำเนินการได้
4. อุปสรรค (Threats) หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์กร
   เป็นการทำ SWOT หรือการวิเคราะห์สถานะการณ์ (situation Analysis) หาสิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงาน สู่สภาพที่ต้องการในอนาคต

การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้ รู้เขา รู้เรา รู้จักตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ให้ชัดเจน
วิเคราะห์โอกาส อุปสรรค์ เพื่อประโยชน์ ในการกำหนดวิสัยทัศน์

คำรับรองการปฏิบัติราชการ

มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหรือส่วนราชการเทียบได้กับระดับกรม ซึ่งส่วนราชการต้องดำเนินการแก้ไขตัวชีวัดแผนยุทธศาสตร์ของส่วนราชการให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการเจรจาข้อตกลง และประเมินผลที่สำนักงาน กพร. จะแจ้งมา แล้วจึงจะจัดให้มีการลงนามระหว่าง หัวหน้าส่วนราชการระดับ กลุ่มภาระกิจกระทรวงกับส่วนราชการระดับกรม

ในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการนั้น ทุกส่วนราชการจะดำเนินการคือ
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของส่วนราชการระดับกรมใช้แบบฟอร์มเช่นเดียวกับแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง มีตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน ตัวชี้วัด แผนยุทธศาสตร์ของส่วนราชการมิติต่างๆ ในการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ แก้ไขตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์ตามที่ กพร. แจ้งมา  กพร.จะติดตามความก้าวหน้าในรอบ 6 เดือน และ 9 เดือน ที่เรียกว่า SAR รายงานผลการประเมินตนเองรอบ 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน (SAR Card)  เป็นการประเมินผลสำเร็จการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองรอบ 12  เดือน

ผลงานทางวิชาการ

ผลงานทางวิชาการที่นำมาใช้ของตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันคือตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์นั้น เช่นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ก็ต้องมีผลงานที่เป็นเอกสารประกอบการสอนที่ใช้สอนนักศึกษา งานวิจัยแต่งแปล เรียบเรียง บทความทางวิชาการ และงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ และผลงานวิชาการ ลักษณะอื่น คือสิ่งประดิษฐ์  สำหรับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ แทนที่จะเป็นเอกสารประกอบการสอน ก็จะมีเอกสารคำสอนแทนที่มีความลุ่มลึกกว่า อันแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญชำนานการสอน สำหรับผลงานทางวิชาการลักษณะอื่น ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (รวมภาพวาด กิจกรรม พิมพ์เขียว ที่มีเอกสารประกอบควบคู่ เช่นต้นกำเนิดของภาพได้จากที่ใดเป็นน้องๆ ของงานวิจัย

งานตีพิมพ์เผยแพร่ในสาขาวิชานั้นๆ ในประเทศก็ได้ที่มี peer review หรือวารสารตามเกณฑ์ระดับชาติ ที่มีบอร์ดคอยตรวจสอบ

องค์ประกอบสำคัญในการสร้างความมั่งคั่ง

การสร้างความมั่งคั่งในปัจจุบันและอนาคต ฟันธงได้เลยว่าก็ต้องอาศัยความรู้ ความมั่งคั่งจากความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศอันประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ที่ทำให้มีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ทุกหัวระแหง ได้ก่อให้เกิดการงานใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ตัวอย่างของบริษัทด้านนี้ ไม่ว่าบิลเกต สตีป จ๊อป ที่ดำเนินธุรกิจทางด้านไอที และยังมีกิจการที่เกิดจากความรู้ใหม่สาขาอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ดังที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) การตัดแต่งพันธุกรรม

ในยุกต์ที่อาจจะกล่าวว่าเป็นยุคที่ประยุกต์ใช้ดิจิตอลมากขึ้นมากขึ้น โดยมีหัวหอกจากคอมพิวเตอร์ดิจิทัล ที่เป็นตัวสนับสนุนส่งเสริม ให้ความรู้ด้านอื่นๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง นั่นหมายถึงการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่งจากความรู้เหล่านั้น  ในโลกยุคดิจิทัลบางครั้งประสบการณ์ไม่อาจนำมาใช้เป็นตัวแบบในการแก้ปัญหาในปัจจุบันและอนาคต  แต่ประสบการณ์ทางดิจิทัลมีส่วนช่วยได้มากที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา

โครงสร้างและขั้นตอนจัดทำแผนกลยุทธ์

1. การวิเคราะห์ภารกิจ หรือพันธกิจ (Mission Analysis)
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต (Environmental Analysis)
3. การวิเคราะห์องค์กร (SWOT: Situation Analysis )
4. การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
5. ค้นหาอุปสรรค และปัญหาในการดำเนินงาน (Obstacles)
6. กำหนดกลยุทธ์ (Strategy Decision)
7. กำหนดนโยบาย (Policy Decision)
8. การกำหนดกิจกรรม (Activity) สำคัญตามกลยุทธ์ และนโยบาย
9. การจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)

จากทั้ง 9 ขั้นตอนดังกล่าว นำมาทำเป็นรูปเล่มมี หัวข้อดังนี้
1. บทนำ
2. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
3. วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ นโยบาย เป้าหมาย มาตรการ
4. รายละเอียดแผนโครงการ (แยกเป็นรายกลยุทธ์ที่กำหนด)
5. แผนการควบคุมกำกับติดตาม
6. ภาคผนวก

ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์

การวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเอง ได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างเหมาะสม วิเคราะห์บริบท และสภาพแวดล้อมนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสำคัญ

มีความเป็นตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จ และความล้มเหลว ของตัวเองมากขึ้น

การวางแผนขององค์กร โดยองค์กร และเพื่อองค์กร ไม่ใช่ทำตามที่หน่วยเหนือสังการ

การวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอำนาจกระแสหลักในการบริหารภาครัฐ

อนาคตเชิงการแข่งขัน

ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องการระบบการทำงาน ระบบที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพสูง
       เพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้า
       สร้างความเป็นผู้นำ ภาพลักษณ์ ที่แสดงจุดเด่นของหน่วยงาน
       กำหนดเป้าหมายรวมขององค์กร
       คิดในเชิงรุก มุ่งเอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า ก้าวไกล มุ่งเอาชนะ เอาความยิ่งใหญ่ เน้นคุณภาพเอา ความเป็นเลิศ
        รู้จักเลือก มุ่งความพยายาม สู่โอกาส

วิสัยทัศน์ขององค์กรควรเป็นอย่างไร

วิสัยทัศน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องการทำอะไรให้สำเร็จ ทำให้ต้องทำให้เสร็จ คาดหวังผลเช่นไร  วิสัยทัศน์กำหนดขึ้นโดยผู้นำองค์กร ซึ่งกำหนดร่วมกันโดยการประชุมสัมนา ระดมความคิดเห็น และวิสัยทัศน์ของหน่วยงานย่อยในองค์กรจะต้องสอดคล้องหรือสนับสนุนวิสัยทัศน์องค์กร

ลักษณะกลยุทธ์เป็นอย่างไร

กลยุทธที่ได้มาไม่ผูกติดกับปัญหาเก่าในอดีต ไม่เอาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณเป็นข้ออ้าง

กลยุทธ ไม่ยึดติดกับปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาในปัจจุบัน ปรับระบบการทำงานในปัจจุบันให้รับกับการดำเนินงานสู่จุดที่ต้องการในอนาคต

กลยุทธ์ เน้นความสามารถในการคาดคะเนสภาพในอนาคต  เน้นความสามารถในการปรับตัวขององค์กร

.....เป็นไปในทางที่จะช่วยให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ได้ด้วยตนเอง และทุกกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้น เป็นปัจจัยที่ชี้อนาคตขององค์กรนั้น

โดยสรุป กลยุทธ์ที่ได้มาจากการคิดวิเคราะห์ แบบใหม่ๆ ไม่ผูกติดกับปัญหาเก่าในอดีต ไม่เอาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณเป็นข้ออ้าง และทุกกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นเป็นปัจจัยที่ชี้อนาคตขององค์กรนั้นๆ

เรื่องเล่าบนรถขณะเดินทาง

ชายคนหนึ่งเลี้ยงนกแก้วไว้ ที่ฝึกให้พูดบอกทางให้คนที่มางานที่บ้าน โดยฝึกให้สังเกตว่าถ้าเป็นผู้หญิ่งผมยาว ผู้ชายผมสั้น  ถ้าเป็นผู้หญิ่งให้พูดว่า"เลี้ยวซ้าย"  ถ้าเป็นผู้ชายให้พูดว่า "เลี้ยวขวา" แต่เผอิญว่าในงานนี้ได้เชิญพระสงฆ์มาด้วย  นกเลยงง ก็พูดว่า "หัวล้านไม่ให้เข้า"

มีซอพท์แวร์ทางการศึกษาดีๆ อะไรบ้าง

มีมากมายแต่จะขอแนะนำที่ได้ทดลองแล้วและเห็นว่าดี เช่นซอพท์แวร์การศึกษาในชุดของ The Time education series   เช่น A Level Mechanics  ....Your Personal Tutor  ซอพท์แวร์ชุด ของ ADAM เกี่ยวกับระบบต่างๆ ของร่างกายเป็นต้น

Thursday, November 5, 2009

ทำไมต้องทำแผนกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Base Budgeting)  โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ออกระเบียบให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับมีการจัดทำแผนกลยุทธ

การจัดสรรงบประมาณแบบกระจายอำนาจ

โดยส่งเสริมสนับสนุนให้แต่ละหน่วยงาน สร้างรายได้จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ กระจายอำนาจให้อิสระ กับหน่วยงาน ระดับคณะ ที่จะต้องดำเนินการเอง
   ในด้านการบริหารบุคคล
   ในด้านการเงิน
   ในด้านการดูแลอาคารสถานที่
   การประหยัดพลังงานไฟฟ้า
   มีอาคารที่ต้องรับผิดชอบ
   หน่วยงานกลางดูแลนอกอาคาร จึงต้องโอนเจ้าหน้าที่ไปยังคณะ เจ้าหน้าที่ดูแลอาคาร หรือว่าแล้วแต่จะตกลงกัน

ยกเว้นเงินเดือนข้าราชการ
ค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ต้องตัดโอนมาเป็นของคณะ ส่วนของมหาวิทยาลัยคิดว่าจะมีค่าใช้จ่ายส่วนใด ก็ต้องกำหนดให้ชัดเจน

แผนกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง

การกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน
การวิเคราะห์อนาคต และการคิดเชิงการแข่งขัน
ระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง
ระบบการทำงานที่มีความคล่องตัว
การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อเข้าสู่เป้าหมายในอนาคต

สร้างความเป็นผู้นำ สร้างภาพลักษณ์ ที่แสดงจุดเด่น

กำหนดเป้าหมายรวมขององค์กรสำหรับการดำเนินการในอนาคต อันได้แก่วิสัยทัศน์
มีการคิดเชิงรุก
มุ่งเอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า ก้าวไกล มุ่งเอาชนะ เอาความยิ่งใหญ่ เน้นคุณภาพ เอาความเป็นเลิศ

คิดกว้างมองไกล มองไปข้างหน้า วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมอนาคต

รู้จุดแข็งจุดอ่อน และสถานะการขององค์กร โอกาส รู้จักเลือก แล้วมุ่งความพยายามไปสู่โอกาสนั้น

ปรับระบบการทำงานปัจจุบันให้รับกับการทำงาน (ดำเนินงาน)สู่จุดที่ต้องการในอนาคตฉ

เน้นความสามารถในการคาดคะเนสภาพในอนาคต
มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จ ความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น

วางแผนองค์กรเพื่อองค์กร สอดรับกับการกระจายอำนาจ ด้านงบประมาณแบบเงินเป็นก้อนลงไปให้หน่วยงาน

Wednesday, November 4, 2009

กลไกการพัฒนาบางประการ

กลไกการพัฒนาอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยก็คือ   ก่อนที่จะลงมือทำงานใด ให้ศึกษาหาแนวทางการพัฒนาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องคำนึงถึง ต้องปรับให้สถาบันให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง สถาบันจึงจะอยู่ได้  เพราะคนที่อยู่ได้ต่อไปคือคนที่สามารถปรับตัวได้ดี ไม่ใช่คนที่เก่งหรือฉลาดหรือแข็งแรงที่สุด

คุณภาพกับสถาบันอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาคงจะต้องทำอะไรที่เป็นแบบอย่าง ที่จะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ในตัวเอง ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมองค์กรไปในทางให้มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน และการทำวิจัย และปรับวิธีการดำเนินการให้แข่งขันในเวทีโลกได้ เน้นบทบาทที่แท้จริงของมหาวิทยาลัย เน้นคุณภาพที่ไม่ล้าสมัยด้วย ดังนั้น จะต้องมีความเชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายใน และคุณภาพภายนอก ในการรายงานทั้งภายนอกภายในควรจะอยู่ในฉบับเดียวกัน

ในโครงสร้างระดับชาติมหาวิทยาลัยต้องกำหนดคุณภาพได้เอง ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน การประเมินแบบใหม่ให้มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด การประเมินก็เพื่อปรับปรุงพัฒนา และคุณภาพอย่างเดียวเท่านั้นเป็นสำคัญตามต้องการ

องค์ประกอบ LGM

LGM
L: Leadership   ความรู้ความสามารถที่เคลือ่นไหวอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
G: Governance การมีธรรมาภิบาล ซึ่งผู้บริหารระดับสูงต้องตระหนัก ในรัฐและมหาวิทยาลัยที่เจริญแล้วใช้เป็นตัวปะทะ ให้องค์กรปะทะ
M: Management ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าหน่วยงาน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในการทำงาน

ทัศนะหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง

นั่นก็คือมหาวิทยาลัยสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถรุ่นต่อไป ต้องการผลิตกำลังคนที่เป็นปริญญาเอก ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่แท้จริง

แนวโน้มการจัดการนวกรรมการศึกษาเป็นอย่างไร

นวัตกรรมการศึกษาให้ทุกอย่างที่ขวางหน้ายืดหยุ่นให้มาก ไม่เอาเกณฑ์มาจับมากนัก โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้มาก

แผนกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับอะไร

มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน
มีการวิเคราะห์อนาคต และคิดเชิงการแข่งขัน
ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง
ต้องการระบบทำงานที่มีความคล่องตัว
ต้องการการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูง..สู่เป้าหมายในอนาคต
สามารถสร้างความเป็นผู้นำ ที่แสดงจุดเด่นสร้างภาพลักษณ์

การกำหนดเป้าหมายรวมขององค์กรสำหรับการดำเนินการในอนาคต ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์นั่นเอง
มีการคิดในเชิงรุก มุ่งเอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า
ก้าวไกล มุ่งเอาชนะตัวเอง เอาความยิ่งใหญ่ เน้นคุณภาพ เอาความเป็นเลิศ

คิดกว้างมองไกล มองไปข้างหน้า วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม อนาคต
รู้จดแข็ง จุดอ่อน และสถานะการณ์ขององค์กร โอกาส และรู้จักเลือกโอกาส แล้วมุ่งความพยายามสู่จุดที่ต้องการในอนาคต

เน้นความสามารถในการคาดคะเนสภาพในอนาคต มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จ ความล้มเหลว ของตนเองมากขึ้น วางแผนขององค์กร เพื่อองค์กร สอดรับกับการกระจายอำนาจ

อะไรที่ทำให้สำเร็จ

มีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพฃ
ให้คนพร้อมที่จะเรียนรู้ ให้อินเตอร์เน็ต แสดงรายการความรู้ใหม่ๆ
ค่าเรียนแพงแต่คุณภาพดีเยี่ยม
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
กล้าตัดสินใจรับสิ่งใหม่ ผู้นำองค์กรต้องมีข้อมูลในมือ กล้าตัดสินใจ
มหาวิทยาลัยต้องจุดประกายให้นักศึกษาได้เรียนรู้
สร้างระบบ การเรียนรู้
ระบบการทำความสะอาด สอบก่อนมาเป็นพนักงาน มีระบบสอน ดูแลรักษาความปลอดภัย
สอนเรื่องสารเคมี

อะไรเป็นสาเหตุแห่งความล้มเหลว

การบริการคุณภาพต่ำ
ค่าบริหารสูง
ไม่ยืดหยุ่น
ขาดระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

การศึกษาบางประการ

การศึกษาอยู่ที่คุณภาพไม่ใช่ดีกรี (degree) หรือปริญญา

ส่วนสำคัญของความสำเร็จเน้นอยู่ดีการปฏิบัติในทุกๆหน่วย
การบริการด้วยคุณภาพสูง
การยืดหยุ่นและความไวต่อปัญหา ขยายความสามารถศักยภาพให้กับงานต่อไป
อย่างมีจิตบริการ (Service Mind)

สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน

ใครไม่ทำงานเป็นคนปรหลาด
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ
เปลี่ยนไปวันนี้ คิดดีกว่าเดิมหรือไม่
ใครไม่เปลี่ยนวิคิดไม่ศรัทธาก็เป็นคนประหลาด
ต้องเป็นองค์กรที่กล้าคิด (Thinking Organizagtion) และ
ต้องใส่จินตนาการเข้าไป เป็นองค์กรที่มีส่วนร่วม (participatory Organizeation)

ใส่ระบบคิดในการทำงานให้องค์กร
ไม่ติดอยู่กับวัฒนธรรมแห่งการปล่อยปละละเลย
แต่ให้เป็นวัฒนธรรมแห่งการเอาการเอางาน
งานเปลี่ยนที่ทำก็ได้ ไม่เพียงแต่ทำเท่านั้น ผู้บริหาร ต้องพร้อมให้คนโกรธไม่พอใจ

ทำอะไรเป็นอะไรต้องเห็นผลสัมฤทธิ์  ทุกคนต้องมีวินัย ทุกอย่างต้องนำมาคิด
ให้ทุกคนมีความหมายในชีวิตต่อองค์กร มีที่ยืนให้ทำอะไรก็ได้ ไม่ทำอะไรก็ได้
เป็นนักวิจัยต้องทำผลงานวิจัย เจอหน้ากันทักทาย ทำกี่บท

มีวัฒนธรรมที่ไม่สายแม้นาทีเดียว เช่นเดียวกับเวลามาประชุมเมื่อถึงเวลาคนคนเดียวก็ประชุม
จะต้องมีระบบคิดที่ดี ปล่อยปะละเลยไม่ได้
ไม่เสียเวลา เสียโอกาส  ไม่เสียความรู้สึก
ระบบแผนที่ดีเป็นหัวใจที่ต้องคำนึงถึง ระบบแผนไม่ชัดมหาวิทยาลัยเสียหาย

แนวคิดในการทำงานในสถาบันอุดมศึกษามีอะไรบ้าง

1. ตองมีเจ้าภาพ ผู้รับผิดชอบ หาทีม กลุ่มเป้าหมาย บริหารค่าใช้จ่าย
2. มียุทธศาสตร์
3. มีแนวคิด คอนเซ็ปท์ในการทำงาน แนวคิดเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในใจที่ แสดงออกมาดังๆ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม
4.มีกระบวนการเรียนรู้ระหว่างผู้ทำงาน อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา
5. รับผลจากการกระทำร่วมกัน ผิดพลาดแล้วยอมรับไปปรับปรุงเงื่อนไข

กลยุทธที่สำคัญสำหรับพัฒนาราชภัฏน่าจะมีอะไร

กลยุทธ์ปรับกระบวนทัศน์ มุมมองของชาวราชภัฏ เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อท้องถิ่น รู้ร้อนรู้หนาวกับประชาคมในท้องถิ่น ทำเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง

กลยุทธวัฒนธรรมองค์กร ภูมิปัญญา ศาสนา วัฒนธรรม

กลยุทธ์เครือข่ายของมหาวิทยาลัย

กลยุทธ์บูรณาการพันธกิจทั้ง หมด สร้างสุขให้กับประชาชน

ราชภัฏควรเป็นสถาบันการศึกษาประเภทใด

เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม กายภาพ  มหาวิทยาลัยควรมีอิสระกำหนดทางเดินของตัวเอง ได้เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นได้เช่นกัน ที่ทำได้อีกอย่างก็คือเป็นคลังภูมิปัญญาของท้องถิ่น มีทฤษฎี สาระความรู้ โดยมีคณะต่างๆ สร้างองค์ความรู้ประมวลองค์ความรู้  การเป็นคลังภูมิปัญญา อาจจะเน้นสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยรู้ให้ลึกเป็นที่พึ่งของคนอื่น สร้างองค์ความรู้เป็นของตัวเองได้  พัฒนาภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

ราชภัฏสามารถที่จะสนองยุทธศาสตร์ของชาติ กระทรวง จังหวัด โดยการสร้างภาคี เครือข่ายการเรียนรู้ องค์ความรู้อยู่ที่ชุมชน เราต้องไปเชื่อมประสาน มีสายสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายให้ได้ เช่น ปราชญ์ท้องถิ่น

มีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นภายใต้ความสามารถตามพันธกิจของม.รภ. เข้าไปมีส่วนร่วมเท่าที่ทำได้กับภาคประชาชน สร้างความเข้มแข็งกับชุมชน

Monday, November 2, 2009

จุดประสงค์ของเว็บบล็อกนี้

ในชีวิตคนเรา มีอะไรหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการประมวลความคิด เป็นความเชื่อ เป็นปรัชญาประจำตัว จึงมีข้อคิด เป็นข้อเขียน บทความ และก็มีหลายคนสงสัย มีคำถามบล็อกนี้ก็จะตอบคำถาม ตามที่สามารถตอบได้