Monday, August 9, 2010

วัฒนธรรมนวัตกรรม

วัฒนธรรมนวัตกรรม (Culture of Innovation) คิดให้สิ่งที่เราสร้างขึ้นเป็นนวัตกรรม นั้นถือว่าเป็นสิ่งดีๆ ที่สร้างขึ้นให้แก่มนุษย์ชาติ ทำให้การดำเนินชีวิตสะดวกสบายขึ้น บางคนอาจจะเห็นแย้งว่า การที่มนุษย์คิดค้นนวัตกรรมดังกล่าว ในขณะเดียวก็หันกลับมาทำลายล้างมนุษย์ด้วย เพราะมนุษย์ยังมีกิเลส ทำให้อยากได้อยากมีนวัตกรรมดังกล่าวทั้งๆที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ แต่ก็ยังพยายามให้ได้มาในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ทำให้มีการทำลายล้างตามมา จึงอาจคิดไปได้ว่าไม่น่าจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรม


ในมุมมองที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมได้ในกรณีที่ ทำให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ส่วนมากนวัตกรรมนั้นเป็นไปในทางที่ช่วยคนทำงานให้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้คนได้มีเวลาไปคิดแก้ปัญหาอื่นได้มากขึ้น ถ้าเราลองนึกภาพว่าถ้าไม่มีอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยนวัตกรรมมากมายในการผลิตสินค้า ไม่มียานพาหนะที่สามารถเดินทางได้รวดเร็ว ไม่มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ก็จะทำให้เห็นว่านวัตกรรมนั้นสำคัญเพียงไร

นวัตกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลง บางครั้งก็ไม่ได้เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ก็มีส่วนที่ทำให้คนบางกลุ่มบางพวกปรับตัวได้ไม่ทัน นั่นก็แสดงให้เห็นว่ายังไม่เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรม ลักษณะสังคมก็จะกลายเป็นสังคมที่เรียนรู้เร็วที่จะอยู่ให้ได้ร่วมกับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอีกไม่นาน20-30 ปีข้างหน้านี้ เชื่อกันว่าเครื่องจักรจะมีความฉลาดมากกว่าคนและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะวิวัฒนการของคนและสิ่งมีชีวิตอื่นในอาณาจักรสัตว์และพืชนั้นช้ากว่าวิวัฒนาการของเครื่องจักร(นวัตกรรม)ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น ห่างกันหลายช่วงตัวทีเดียว

No comments:

Post a Comment