Thursday, September 9, 2010

กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น

หมายถึงการทำงานอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อตอบคำถามหรือความสงสัยบางอย่างโดยมีการแยกแยะประเด็นว่า ข้อสงสัยอยู่ตรงไหน มีการค้นหาข้อมูลก่อนทำมีการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีการวางแผนการทำงาน บนฐานข้อมูลที่มีอยู่ และในระหว่างลงมือทำ ก็จะมีการทบทวนความก้าวหน้า วิเคราะห์ความสำเร็จและอุปสรรคอย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดก็สามารถสรุปบทเรียนเพื่อตอบคำถามที่ต้้งไว้ แล้วอาจจะทำใหม่ได้ดีขึ้น โดยทั้งหมดดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้สงสัยนั่นเอง (ศ.ดร.ปิยะวติ บุญหลง,2543)

มุ่งเน้นให้คนในชุมชนเข้าร่วมกระบวนการคิดตั้งคำถามวางแผน และทำวิจัยเพื่อหาคำตอบอย่างเป็นระบบ และเรียนรู้จากการทำงานวิจัย ที่เป็นเชิงปฏิบัติการจริง (Action research) เพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง โดยมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นเหตุเป็นผล งานวิจัยแบบนี้ไม่ได้เน้นที่ผลงานวิจัย หรือการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ หากแต่มองกระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเพิ่มพล้ง (Empowerment) ชุมชนในการจัดการตามแผน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนได้

ใช้เวทีทั้งในระดับหมู่บ้านตำบล สร้างความตระหนัก และหาแนวทางในการจัดการขยะตำบล ทำให้เกิดความรู้ในท้องถิ่น และเป็นประโยชน์กับท้องถิ่นโดยตรง

การรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรม จะได้เอกสารที่รวบรวมภูมิปํญาไว้ให้ลูกหลาน นำความรู้ดังกล่าวไปสอนในโรงเรียนประถมศึกษา จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่เพื่อการท่องเที่ยว 

ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยคนในท้องถิ่นเองทำให้คนในท้องถิ่นเก่งขึ้น  เกิดกลไก หรือองค์กรชุมชนที่จัดการพัฒนาต่อยอด เช่นการเสริมศักยภาพอบต. เครือข่ายออมทรัพย์ กองทุนในระดับหมู่บ้านตำบล

เครื่อข่ายเยาวชนเพื่อจุดประกายให้เยาวชน เชื่อมโยงไปถึงปัญหา และแนวทางในการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีกด้วย

การวิจัยเพื่อความรู้ใหม่ทางวิชาการและภูมิปัญญา การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนากำลังคนด้วยการวิจัย  ประเด็นหรือโจทย์อะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือคนในท้องถิ่น เห็นว่ามีความสำคัญและอย่ากจะค้นหาคำตอบร่วมกัน

หมายเหตุชุมชนหมายถึงกลุ่มคนในพื้นที่ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการ

No comments:

Post a Comment